ReadyPlanet.com


C-KU กับ C-BAND คือไรครับ


ระบบ C-KU BAND คืออะไร ต่างกันอย่างไร


ผู้ตั้งกระทู้ คุณอ๊อฟ :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-27 09:28:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3037703)

จานดาวเทียม C-KU BAND อาจหมายถึง ดาวเทียมแบบตระแกงระบบ C-BAND แล้วติดหัวKU-BAND เพิ่ม ก็สามารถเรียกว่าเป็นจาน C-KU BAND ได้เช่นกับ ส่วนดาวเทียม c-band นั้นหมายความว่า จานตระแกงสีดำ ติตดั้งเพื่อรับช่อง C-BAND เท่านั้นเอง
ปัจจุบันดาวเทียมแบบโปร่ง นั้นสามารถรับได้ทั้งความถี่ C-BAND และ ความถี่ KU-BAND เช่นจานดาวเทียมยี่ห้อ DYNASAY เป็นต้น

ผู้แสดงความคิดเห็น copa วันที่ตอบ 2009-08-06 09:18:53


ความคิดเห็นที่ 2 (3155450)

              
เจาะลึกจานดาวเทียม (มาติดตั้งกันเถอะ)
การติดตั้งจานดาวเทียมก็มีฮวงจุ้ยของมันเองด้วยมันเองด้วยเหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อทำให้การรับในการปัจจุบันและอนาคตรับสัญญาณได้ดี ไม่ต้องเซอร์วิสมาก ทั้งต้องทำความเข้าใจ เพื่อแก้ไขเชื่อผิดๆ ในการติดตั้ง  ด้วยความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ท่านสามารถเข้าใจ ทำได้... ทำได้ดีแบบมืออาชีพ
   
จากบทความในฉบับที่ผ่านมา มีเสียงตอบรับกลับเข้าไม่มากมายทีเดียว หลายๆท่านสนใจที่จะติดตั้งไว้เพื่อดูเองที่บ้าน แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่สนใจจะยึดเป็นอาชีพ
อาจจะเป็นเพราะช่วงนี้เรื่องโทรทัศน์และดาวเทียมมีประเด็นที่ให้ผู้คนในสังคมได้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์กันค่อนข้างมากทั้งเรื่องการกระทรวงคือดาวเทียมไทยคมเรื่อง ITV
 ที่เหลือเพียงตำนานให้เราได้จดจำกัน ซึ่งปัจจุบันถึงแม้จะแปลงร่างเป็น TITVเรียบร้อยแล้ว แต่อนาคต TITV ก็ยังไม่ชัดเจน รวมทั้งประเด็นร้อน เรื่องราวการทุจริตที่ถูกตีแผ่
โดยโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV อย่างต่อเนื่องจนดูรู้สึกเหนื่อยแทนคนจัด
          และล่าสุดน้องใหม่อย่าง PTV ที่เริ่มออกอากาศผ่านช่อง MVTV1 จากดาวเทียม THAICOM 2/5 ของเทมาเสกประเทศสิงคโปร์(ไม่ได้พิมพ์ผิดนะก็เขาถือหุ้นใหญ่นี่ครับ)
เรื่องราวร้อนๆเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมและมีให้รับชมผ่านชมผ่านดาวเทียมทั้งนั้น อย่างนี้คงจะไม่ผิดนักที่จะเรียกช่วงเวลานี้ ว่าเป็น ยุคดาวเทียม
     หากกล่าวให้เป็นขั้นตอน สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้
 (1.)ทิศทาศต้องดี ไม่มีสิ่ง บดบัง ดูจากรูป "การหาจุดติดตั้งจาน"ที่ได้เตรียมไว้ให้ พื้นที่หรือทำเลที่ดี ของตำแหน่งที่ตั้งจานคือตำแหน่งที่ติดแล้ว หันไปรับดาวเทียมได้มากที่สุดเท่าที่
จะมากได้ เพราะในอนาคตหากท่านต้องการปรับไปรับดาวเทียมดวงอื่นๆ หรืออาจจะได้ หรืออาจจะมีดาวเทียมดวงใหม่ๆ ส่งขึ้นไปในวงโคจรท่านจะได้ไม่ต้องย้ายจุดติดจานบ่อยๆ
โดยทิศทางที่หันไปรับจานดาวเทียม จะต้องไม่มีสิ่งปลูกสร้างหรือต้นไม้มาบดบัง
   ในตอน2 นี้เราจะได้ลงมือประกอบและติดตั้งจานกันนะครับ ชุดจานดาวเทียมที่ผมเลือกใช้ คือชุดจานดาวเทียมขนาด 5 ฟุต Ultra Gain ที่ตัวจานและเครื่องรับมีเกนการขยาย
สัญญาณสูงจึงทำให้หน้าจานมีขนาดเล็กลง เหมาะสำหรับติดตามบ้านหรือทาวน์เฮาส์ โดยไม่กินพื้นที่มากนัก

  อันดับแรก สำรวจสถานที่ติดตั้ง
 ก่อนจะทำให้ติดตั้ง ท่านจะต้องสำรวจที่ติดตั้งกันก่อน(อาจจะเรียกว่าฮวงจุ๊ยก็คงไม่ผิดนัก) โดยเริ่มจากรูปที่1 
"ต้องเสียเวลาตากแดด ครึ่งชั่วโมง เป็นอย่างน้อย เพื่อตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆโดยใช้แหวนรองที่ฐานจานทีละจุด เพื่อเสาตั้งฉากกับพื้นโลก เมื่อเวลาผ่านไปนาน
แหวนรองเกิดเป็นสนิมทำให้หน้าจานเคลื่อนอาจถึงขั้นรับไม่ได้เลยอย่าเป็นช่วงหน้าหมองอย่างนั้นเลย มีวิธี..."
  รูปที่2 การหาจุดติดตั้งจาน สมมุติต้องการรับดาวเทียมไทยคม 2/5 หันหน้าจานไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ 240
(2)จุดที่ยึดเสาตั้งจานควรจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อความแข็งแรง จุดที่เหมาะที่สุดในการติดตั้งคือพื้นระเบียงเรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญมาก บางท่านติดตั้งจานบนพื้นดิน
โดยใช้แท่นปูนวางบนพื้นดินเท่านั้น โดยไม่มีการฝังเสาเข็มและจึงหล่อคอนกรีส พอระยะเวลาผ่านไปไม่กี่เดือนดินเกิดทรุดเพราะถูกน้ำฝนกัดกร่อนหรือเกิดน้ำท่วม ทำให้มา
แก้ปัญหากันพายหลังซึ่งค่าใช้จ่ายในการแก้ไขนั้นสูงกว่าการทำให้ดีทีเดียวตั้งแต่ตอนแรก
(3)จุดที่ตั้งจานไม่ควรอยู่ในจุดอาจจะเป็นอันตรายเช่นไม่ควรติดใกล้สายไฟฟ้าหม้อแปลงไฟฟ้า หรือเสาไฟแรงสูง ห่างๆพวกนี้ไว้เป็นดี และไม่ควรติดตั้งในจุดที่เสี่ยงอันตราย
เพราะท่านอาจจะพลาดพลั้งตกลงมาได้ อีกทั้งยังต้องเผื่อเอาไว้ได้ว่า ในอนาคตท่านอาจจะต้องกลับขึ้นไปเปลี่ยนอุปกรณ์หรือปรับหน้าจานใหม่ รวมทั้งควรติดตั้งจานดาวเทียม
ให้ห่างจากบริเวณที่จอดรถด้วย เพราะในบางครั้งที่ท่านดื่มมากไปหน่อยอย่าว่าแต่จานดาวเทียม รั่วบ้านยังไม่รอดเลย
(4)จุดที่ติดตั้งจานไม่ควรจะห่างจากจุดที่ติดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมมากนัก ยิ่งใกล้ยิ่งดี เพราะการเดินสายนำสัญญาณยิ่งใกล้เท่าไหร่ยิ่งเกิดความสูญเสียหายไปในสายมาก
เท่านั้น โดยปรกติ ช่างมักจะเดินสายยาวไม่เกิน 25 เมตร
(5)หลีกเลี่ยงการติดจานในบริเวณที่เป็นช่องทางผ่านของลม และควรหลีกเลี่ยงที่จะติดจานในจุดที่เป็นช่องผ่าน
(6)ติดตั้งให้ห่างจากมือเด็กเข้าไว้ บ่อยครั้งที่ลูกๆของท่านใช้จานดาวเทียมเป็นอุปกรณ์ปีนป่ายแบบเดียวกันกับสนามเด็กเล่นหรือในบางครั้งคุณบ้านอาจจะใช้เป็นที่ตากปลา
 ตากเนื้อแดดเดียว หรือตากปลาหมึก นับว่าเป็นจานสารพัดประโยชน์เลยทีเดียว หากหลีกเลี่ยงได้จะช่วยลดภาวะในการเซอร์วิสลงได้มาก
 จากเหตุผลข้างต้น การเลือกฮวงจุ๊ยที่ดีจึงต้องเป็นความได้เปรียบส่งผลไปถึงอนาคตในอีกหลายสิบปีเลยทีเดียว...ฮ่า

   ลงมือติดตั้งเสา
    หลังจากที่ทุกท่านได้สำรวจฮวงจุ๊ยดีในการติดตั้งจานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้เรามาลงมือติดตั้งเสากันเลย
 
จากรูปที่2 คงเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ท่านเคยผ่านการอบรมกับหลายๆ ค่ายที่ไม่ใช้ Dynasat อาจจะเกิดความสงสัยว่า ทำไม Dynasat ถึงไม่เน้นว่าจะต้องตั้งเสาให้ได้ฉาก
    ท่านที่มีคำถามนี้อยู่ในใจ คงจะนึกย้อนกลับไปได้ว่าในทุกๆ ครั้งที่ท่านติดจานดาวเทียมท่านต้องเสียเวลาอยู่กลางแดด ตากลมจนหน้าดำในแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 15-30นาที
ในการที่จะพยายามตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวดในการใช้แหวนรองที่ฐานทีละจุด เพื่อให้เสาตั้งฉากกับพื้นโลก และปัญหาที่ตามมาก็คือเมื่อเวลาผ่าน
ไปแหวนรองเหล่านี้เกิดผุกร่อนเป็นสนิมก็ทำให้เกิดปัญหาหน้าจานเคลื่อน ทำให้สัญญาณได้ไม่แรงพอ หรืออาจจะถึงขั้นรับไม่ได้เลย
     ส่วนเหตุผลที่มีการบอกกล่าวต่อๆ กันไปให้พยายามตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆนั้นก็ด้วยเพราะเข้าใจว่าหากว่าเสาตั้งไม่ได้ฉากแล้วจะทำให้ตัววัดมุมผิดพลาด
    ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น
เพราะ ..ตัววัดมุมมิได้วัดมุมเทียบกับเสา ที่รับรู้มานั้นเป็นการบอกเล่า และไม่มีใครคิดค้านหรือในเวลาทำงานจริงท่านจะรู้ว่ามันไม่เกี่ยวกัน!!
   ในหลักความเป็นจริงนั้น ไม่มีอะไรที่ท่านมองเป็นความจริง นี้ไม่ออกด้วยสายบตาปกติ เพราะหากสังเกตดูการทำงานของตัววัดมุม จะเห็นว่าทีเข็มของตัววัดจะมีลูก
ตุ้มคอยถ่วงอยู่
   ดังนั้น.. การทำงานของตัววัดมุมจึงทำการวัดมุมโดยเทียบกับแรงดึงดูดของโลก
ฉะนั้นการที่ท่านพยายามตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆ อยู่ กลางแดด สมมุติตั้งวันละหนึ่งชุดละ 15 นาที ในเวลา ปีเท่ากับท่านเผาเวลาอันมีค่าไปกลางแดดถึง(0.25x365)=91.25ชั่วโมง
เลยทีเดียว

   ลงมือประกอบจาน
เพื่อความเข้าใจง่ายๆให้ดูจากขั้นตอนในรูปที่3ประกอบ
  จุดที่เน้นก็คือการประกอบ และรอยต่อทุกจุดจะต้องเนียนเสมอกัน เพื่อส่วนโค้งหรือCurve ของหน้าจานจะได้สมบูรณ์การสะท้อนสัญญาณก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
ผู้เขียนเคยทำการวัดสัญญาณดาวเทียมกันระหว่างที่ทีความใส่ใจในการประกอบ โดยให้ขอบทุกด้านประกอบกันสนิทจะมีเกนสูงกว่า จานที่ประกอบแบบไม่ใส่ใจประมาณ
0.5-1dB เลยทีเดียวซึ่งเทียบกับหน้าจานที่ทีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่างกันถึงครึ่งฟุต

  อุปกรณ์สำคัญในการปรับจาน
นอกเหนือจากเครื่องมือพื้นฐานเช่นประแจเบอร์ต่างๆ และไขควงแล้ว ยังมีอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ท่านปรับจานดาวเทียมได้อย่างมืออาชีพอีก 2 ชิ้น ก็คือ ตัววัดมุมและเข็มทิศนั่นเอง
  ท่านอาจจะไม่เชื่อว่า ยังมีช่างติดตั้งจานดาวเทียมจำนวนมากทีเดียวที่ยังใช้ ตัววัดมุมและเข็มทิศ แบบผิดวิธี
 ทั้งนี้ไม่ใช้ความผิดของช่างเหล่านั้นหรอก เพราะต้นเหตุน่าจะมาจากการรับข้อมูลในยุคแรกที่ไม่ชัดเจน คนที่เป็นวิทยากรที่ ให้ความรู้ให้ความอบรมสัมมนาแบบไม่รู้จริง
 
***รูป******
ก.   เลือกใช้เข็มทิศตามแบบในภาพ นำมายึดกับอลูมิเนียม เพื่อความสะดวกในการเล็งทิศ หากสังเกตดูพบว่าที่กรอบพลาสติกใส่ในเข็มทิศจะหมุนได้รอบตัว
ข.  หากท่านต้องการต้องการหาทิศ 240 องศา ขั้นแรกหมุนกรอบพลาสติกใส่ด้านในเข็มทิศเพื่อตั่งค่ามุม 240 องศา ให้ตรงกับขีดสีแดงดังรูป
ค.  หมุนเข็มทิศจนเข็มสีแดงชี้ตรงกับตัว N ในกรอบสีส้มเท่านี้ท่านก็จะได้ทิศที่ต้องการ
ง.  ในกรณีของการปรับหน้าจาน ก็ทำได้ไม่ยาก  โดยการตั้งตัวเลขทิศที่ต้องการจากนั้นส่ายหน้าจานโดยสังเกตให้สีแดงโดยเข็มทิศชี้ตรงกับตัว N ในกรอบสีส้มหน้าจาน
ของท่านจะหันไปยังทิศที่ต้องการ
  ****รูปที่4****การใช้เข็มทิศอย่างมืออาชีพ ที่วิธีการนี้ทำให้การปรับจานทำได้เร็ว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Dynasat จนใครต่อใครหันมาใช้อย่างกว้างขวาง
 
          แต่หากท่านได้ลองศึกษาวิธีใช้เข็มทิศและตัววัดมุมตามแบบฉบับของ Dynasat แล้วท่านจะพบกับอุปกรณ์ทั้งสองตัวแบบนี้จะช่วยให้ท่านปรับจานได้รวดเร็วมากกว่าแบบเดิม ชนิดที่
เดิมชนิดไม่อาจหาคำใดมาเปรียบเทียบได้ ตัวอย่างเช่น การสัมนาหลายๆครั้งของ Dynasat จะมีการทดสอบการปรับจานภาคสนามช่างที่เคยอบรมสัมมนาค่ายอื่นๆมา จะใช้เวลาใน
การปรับจาน 5-15 นาที ข้นอยู่กับจังหวะและความ ฟลุ๊ค แต่หากเป็นดาวเทียมดวงอื่นๆที่ไม่ใช่ Thaicom 2/5 ช่างเหล่านั้นอาจจะใช้เวลานานกว่า 30 นาที (บางครั้งหาไม่เจอเลยก็มี)
         แต่สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยปรับหน้าจานดาวเทียมมาก่อนแต่ใช้วัดมุมและเข็มทิศ อย่างถูกวิธี กลับปรับจานหาสัญญาณโดยใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ถึง 1 นาทีเท่านั้น และดาว
เทียมดวงอื่นๆ ที่หายาก ก็ใช้เวลาในช่วง 30 นาที ถึง 1 นาทีเท่าเช่นกัน
        ลองมาดูกันว่าการใช้เข็มทิศ และตัววัดมุม แบบมืออาชีพนั้นใช้กันอย่างไร
 และในตอนต่อไปเราจะมาทดลองปรับจานรับสัญญาณกันจริงๆพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ช่างจานดาวเทียม วันที่ตอบ 2010-02-17 18:52:31


ความคิดเห็นที่ 3 (3155452)

 อสมท. ระบุงบทุนวงเงิน 80 ล้าน เพิ่มทีวีดาวเทียม 4 ช่องนี้คือหัวข้อข่าวล่าสุด ในยุคที่มีประธานบอร์ดชื่อ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร สิ่งนี้คือข้อบ่งชี้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้
ความต้องการรับสัญาณทีวีผ่านดาวเทียม เป็นความจำเป็นอย่างแม่นแท้ เราจึงได้ตอบรับท่านด้วยบทความซีรี่ส์ใหม่ ที่มาจากผู้สันทัดกรณีโดยตรง

สวัดดีครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู้เนื้อหาสาระและความรู้เกี่ยวกับจานดาวเทียมกันอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแฟนประจำ Electronics Handbook คงจะยังจำบทความเรื่อง
"ชุดคิตเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม" ที่ทางไดนาแซท เคยนำเสนอเมื่อประมาณ 10 ปีกว่าปีที่แล้วกันได้ บทความในครั้งนั้นได้สร้างความฮือฮา และทำให้เกิดความตื่นตัว
ในวงการอิเล็กทรอนิกส์และดาวเทียมอย่างมาก ผ่านมาพอสมควรถึงเวลาที่ต้องมาอัพเดท และเพิ่มพูนความรู้กันอีกครั้ง(หมายเหตุ บทความที่อ้างถึง อยู่ในนิตยาสาร
อิเล็กทรอนิกส์แฮนด์บุ๊ค ปีที่1ฉบับที่3เดือนมกราคม2537หน้า52-60เรื่อง "สร้างเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ใช้เองกันดีกว่า")

สำหรับบทความในชุดนี้ Dynasat และ Electronics Hanbook ได้เตรียมบทความดีๆให้ท่นได้อ่าน กันอย่างจุใจต่อเนื่องถึง 12 ตอนเลยทีเดียว โดยเนื้อหาจะเน้นในเรื่อง
การสร้งความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการทำงานการใช้อุปกรณ์ต่างๆการติดตั้งทีถูกวิธี รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้วยเรื่องเครียดๆพวกสมการต่างๆ คงมีไว้บ้าง เพื่ออ้างอิง
แต่ไม่เน้นให้ปวดสมอง เรียกว่าอ่านกันแบบสนุกๆแต่เอาไปใช้ได้จริงระดับช่างมืออาชีพ

เนื้อหาในตอนที่ 1 จะเป็นปูพื้นฐานในท่านที่ไม่เคยติดจาน ได้เรียนรู้การทำงานเบื้องต้นของอุปกรณ์ต่างๆก่นจากนั้นในตอนที่2จะเริ่มลงมือติดจานรับสัญญาณจากดาว
เทียม Thaicom2/3 ส่วนท่านที่ติดเป็นแล้ว ก็อย่าพึ่งเบื่อเสียก่อนคิดซะว่าเป็นบททบทวนก็แล้วกัน หลังจากนั้นจะเจาะลึกรายละเอียดของอุปกรณ์ แต่ละตัวรวมถึงเทคนิค
ต่างๆ และการแก้ไขปัญหา

ในปัจจุบันจานรับสัญญาณดาวเทียมได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากช่องรายการต่างๆ ได้รับเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบดิจิตอลกันหมดแล้ว ทำให้คุณภาพของภาพ
และเสียงที่ได้ดีกว่าในอดีตค่อนข้างมาก รวมทั้งเทคโนโลยีของตัวดาวเทียมเอง ที่มีการพัฒนาให้มีกำลังส่งที่สูงขึ้น และขยายแบนด์วิดธ์(Band Width)ในการส่งให้กว้างขวาง
ขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีการบีบอัดสัญญาณในระบบดิจิตอล ทำให้เรารับชมช่องรายการได้มากขึ้น ในส่วนของผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ เช่นจานดาวเทียม LNBF และเครื่อง
รับสัญญาณดาวเทียมต่างก็แข่งขันกันพัฒนาประสิทธิภาพในการรับให้สูงขึ้น ในราคาที่ต่ำลง

ในส่วนของสถานีและผู้ผลิตรายการต่างๆ ก็กำลังให้ความสนใจที่จะเปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เนื่องจากต้นทุนในการออกอากาศผ่านทางดาวเทียมนั้น ต่ำกว่าการที่
จะต้องสร้างสถานีท่ายทอดสัญญาณในจังหวัดต่างๆและผมพลอยได้ คือ สัญญาณที่ส่งผ่านดาวเทียม ยังกระจายครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ บนโลกได้กว้างไกลกว่า และเหตุผลที่
สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ยังลดความยุ่งยากในการขออนุญาตตั้งสถานีอีกด้วย เพราะส่วนใหญ่จะทำอัพลิ้งค์(Uplink)หรือยิง
สัญญาณขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศเปิดเสรี

จากเหตุผลข้างต้น เราอาจจะกล่าวได้ว่าเสาอากาศโทรทัศน์ที่ถูกติดตั้งบนหลังคาบ้าน น่าจะถูกแทนที่ด้วยจานดาวเทียมในเวลาอันใกล้นี้ แต่การขยายตัวอย่างรวดเร็ว ก็เป็น
ตัวเร่งให้เกดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงเช่นกัน ดังนั้นช่างประสบการณ์ ความสามารถ เพื้อเตรียมพร้อมในการก้าวลงสู่สนามแข่งขันนี้ด้วย ในส่วนของผุ้บริโภคหรือลูกค้า
ก็คงอยู่เฉยว่าเป็ประโยชน์ในการเลือกซื้อ เะพราะเราคงไม่ได้เปลี่ยนจานหรือเครื่องรับกันบ่อยนัก การลงทุนครั้งแรกจึงนับว่าสำคัญอย่างยิ่ง
  เกริ่นมายาว ตอนนี้ได้เวลาที่มาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องดาวเทียม

จานดาวเทียม(Satellite Dish)  ในวงจรสื่อสารดาวเทียมจะแบ่งประเภทของจานดาวเทียม ตามลักษณะของการสะท้อนสัญญาณของจานได้เป็น 3 ประเภท ดังได้แสดงไว้ในรูปที่1 แต่ส่วนใหญ่แล้ว
ในวงการดาวเทียม เพื่อการรับชมตามบ้าน ร้านค้า และช่าง มักแบ่งตามย่านความถี่ที่ใช้งาน คือ จานC-Band(ซีแบนด์)และจานKU-Band(เคยู-แบนด์)และบางทีจาน
C-Band เองยังถูกแบ่งย่อยออกไปอีกเป็นจานทึบ และจานโปร่ง และแยกย่อยไปตามลักษณะของการเกิดตั้ง เช่น จานแบบฟิกซ์รับดวงเดียว หรืแบบมูฟติดมอเตอร์
ขับจานรับดาวเทียมหลายดวง โดยหลักๆแล้วจานดาวเทียมทำหน้าที่สะท้อน และรวมสัญญาณไปยังจุดโฟกัส

โดยปกติแล้วจานที่ใหญ่กว่ากว่าควรจะมีเกน (Gain)ในการรับสัญญาณที่สูงกว่า แต่ก้ไม่แน่เสมอไปขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของจานด้วย ตัวอย่างเช่น Dynasat
ขนาด 5.5 ฟุต แต่กลับรับสัญญาณได้ดีกว่าจาน 7 ฟุต ของบางยี่ห้อ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเก่าๆ ด้วยว่าจานทึบดีกว่าจานโปร่ง ข้อเท็จจริงเป็นประการใดในตอนต่อไป
ผู้เขียนจะทดสอบได้ดูห้ามพลาดเด็ดขาด ! ในตอนต่อไปเราจะเลือกใช้จานดาวเทียม Dynasnt ขนาด 5 ฟุตแบบฟิกซ์ ในการติดตั้ง

LNB (Low Noise Block Down converter with Feed Horn) ชื่อเต็มๆ ค่อนข้างจะยาวสักนิดไม่ต้องจำก็ได้  ปัจจุบันนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า LNB เจ้าตัว LNB นี้จะถูกติดตั้งไว้ที่จุดโฟกัสของจานดาวเทียม สัญญาณที่มารวมกันที่จุด
โฟกัสจะเข้าไปตามท่อนำสัญญาณ"เวฟได์"(Wave guide)ผ่านเข้าไปยังเสาอากาศต้นเล็กๆ จากนั้นวงจรขยายสัญญาณภายในขยายสัญญาณดาวเทียมให้แรงขึ้น
แล้วส่งต่อไปยังวงจรแปลงความถี่ (Ferquency Down Converter)ให้มีความถี่ต่ำลง เพียงพอที่จะส่งรับสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณได้

หากไม่แปลงความถี่ให้ต่ำลง สัญญาณดาวเทียมที่มีความถี่จะสูงขึ้นมาก  จะวิ่งไปในสายนำสัญญาณได้เพียงระยะทางสั้นๆเท่านั้น ในปัจจุบัน LNBF แบบ C-Band
เอาต์พุตเดียว
สายนำสัญญาณ(Coaxial Cable) 

ส่วนใหญ่งานติดตั้งทั้วๆ ไปเรานิยมใช้สายขนาด RG-U6ซึ่งมีอิมพีแดนซ์(lmqedance)75 โอห์ม เนื่องจากมีขนาดเล็ก ติดตั้งเดินสายได้ง่าย หน้าที่ของสายนำสัญญาณ
คือนำพาสัญาญาณจาก LNBF ซึ่งมีความถี่ IF ในช่วง 950-2050 MHz ไม่เกิน 50 เมตร ในการทดลองสัญญาณจาก LNBF อาจเดินสายได้ไกลถึง 100 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับขนาดของจานดาวเทียมและเกนการขยายของตัว LNBF ด้วย แต่หากไกลกว่านี้จำเป็นจะต้องติดตั้งขยายสัญญาณ (Inline Amplifier)
  เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม(Satellite Receivre)
  เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมหรือตัวรีซีฟเวอร์ ในบางครั้งอาจจะถูกเรียกว่า เซ็ตท็อปบ็อกซ์(Srt Top Box)หรืออาจจะถูกเรียกว่า IRD(Integreated Receiver&Decoder)
แต่โดยรวมแล้วก็คือเครื่องรับสัญญาณเหมือนกัน เพียงแต่อาจจะมีฟังก์ชั่น การทำงาน หรือคุณสมบัติบางอย่างที่แตกต่างกันออกไปบ้างเท่านั้น หน้าที่ของเครื่องรับสัญญาณ
ดาวเทียม คือ จะแปลงสัญญาณ IF ที่วิ่งลงมาตามสายนำสัญญาณให้ออกมาเป็นภาพและเสียง

ปัจจุบันดาวเทียมส่วนใหญ่(กว่า99%)ส่งสัญญาณในระบบ Digtal ดังนั้นเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่มีจำหน่าย
ในปัจจุบันจึงเป็นระบบ Digtal กันหมดแล้ว เวลาเดินเข้าร้านจำหน่ายจานดาวเทียม ไม่ต้องถามคนขายว่า เครื่องนี้ระบบอะนาล็อกหรือดิจิตอล เพราะพนักงานบางคน
ที่พึ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน อาจจะงงว่ามันคืออะไร รายละเอียดที่ลึกมากกว่านี้รวม ทั้งการทำงานของวงจรต่างๆ ภายในเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ผู้เขียนขออธิายใน
ตอนต่อๆไป

ถึงตอนนี้ทุกท่าน คงพอเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ กันพอสมควรแล้ว ทีนี้เรามาดูเครื่องมือสำหรับการติดตั้งกันบ้าง เครื่องมือสำหรับการประกอปการติดตั้ง
ที่ใช้กันประจำได้แก่ สว่านไฟฟ้า ประแจ คีมตัด ไขควง ตัววัดมุม เข็มทิศฯลฯ
   ในฉบับต่อไปจะติด ตั้ง และทดลองปรับจานไปรับรายการโทรทัศน์จากดาวเทียม Thaicom 2 และ Thaicom 5 กันรับประกันว่าไม่ยากมือใหม่ก็ทำได้

ก่อนจากกันผู้เขียนขอแนะนำ สำหรับท่านที่ต้องการดูรายละเอียดของช่องรายการ จากดาวเทียมดวงอื่นๆก็ติด ตามได้จาก 
บทความในตอนที่1คงต้องจบลงแต่เพียงเท่านี้พบกันใหม่ในตอนต่อไป  สวัดดีครับ***

ผู้แสดงความคิดเห็น ช่างจานดาวเทียม วันที่ตอบ 2010-02-17 18:57:40


ความคิดเห็นที่ 4 (3155453)

ตอนที่ 7 (มาติดตั้งจานมูฟกันดีกว่า)
เมื่อทราบหลักการของจานมูฟและสาเหตุที่ต้องปรับมุมชดเชยไปแล้ว คราวนี้ถึงเวลาของการประกอบและปรับแต่งในภาคสนาม
จริงกันแล้ว.. ซึ่งวิธีการประกอบ
ติดตั้ง ตลอดจนการปรับแต่งนั้นยังถือว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่ยุ่งยาก ใครที่เป็นคนกลัวความล้มเหลวขอให้สบายใจได้.. ผลงานของท่านจะสำเร็จให้ชื่นชมแน่นอน!!
มีทฤษฎีทางด้านจิตวิตวิทยาที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนมักหยิบ ยกมาเล่าให้ผู้เข้าร่วม สันนนาการติดตั้งจานดาวเทียม Dynasat ฟังอยุ่เสมอว่า อุปสรรคที่ทำให้มนุษย์  เราใม่ประสบ
ความสำเร็จนั้นมีสาเหตุอันเนื่องมาจากความกลัว 3 ประการ 
ความกลัวประการแรก คือ กลัวที่จะต้องเสียเวลามาศึกษาสิ่งใหม่ๆข้อนี้ในสิ่งแวดวงดาวเทียมจะเจอกันอยู่เสมอตัวอย่างที่เห็น ได้ชัดเจนคือช่างในร้านจำหน่าย
จานดาวเเทียมต่างๆ มักจะจะไม่อยากทดลองเปรียบเทียบสินค้าใหม่ๆ ค้วยเหตุที่มีความถนัดในรุ่นเดิมหรือคุ้นเคยกับยี่ห่อเดิมๆ อยู่แล้วสินค่าที่ตัวเองจำหน่ายอยู่สุดยอดแล้ว
 ขี้เกรียคที่จะต้องมาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หลายๆครั้งเลยพลาดโอกาศ ไม่ได้นำสินค้าที่ดีกว่ามาจำหน่าย หรือไม่ได้ปรับเปลี่ยนเอาวิธีที่ดีกว่ามามใช้
ความกลัวประการที่สอง คือ กลัวความล้มเหลวหลายคนที่มีความพยายามมากพอที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่กลับไปนำมาใช้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือทำต่อให้
สำเร็จก็เพราะกลัวว่าหากทำไปแล้วจะไม่ได้ผล หรือ กลัวว่าจะว่าจะทำได้ไม่ดีเลยล้มเลิกไม่ยอมทำต่อ ข้อนี้ก็มีอย่างให้อยู่ทั่วไป
ส่วนความกลัวประการสุดท้าย  แทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์ เรากลัวประความสำเร็จ เพราะมัวแต่คิดว่าที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็ฌดีอยู่แล้ว เคยใส่เสื้อยืด กางเกงยีน
รองเท้าแตะ ก็สบายดีนี่ ถ้าเหากประสบความสำเร็จมากกว่านี้กลัวจะตัวไม่ถูก เดี๋ยวชีวิตจะยุ่งอยากกว่าที่เป็นอยู่ เลยไม่มุมานะที่จะต้องทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ
ก็คงต้องย้อนกลับมามองที่ตัวท่านแล้วว่า ความกลัวทั้ง 3 ข้อนี้มีอยู่ในตัวท่านหรือไม่.....
จากบทความในตอนที่ผ่านมา ท่านได้ทราบหลักการทำงานของมูฟ รวมถึงสาเหตุที่ต้องทำการปรับมุมชดเชยทั้งนีก้เพื่อให้หน้าจานเบี่ยงหรือเอียงไปรับสัญาณจากดาวเทียม
ดวงที่อยู่ริมๆ ได้แรงที่สุด ทำให้สัญาณได้ครบครบยทุกดวงนั้นเอง โดยที่มุมชดเชยมิได้มีไว้เพื่อปรับแก้ปัญหาเสาเอียง หรือไม่ได้มีไว้ปรับแก้ในกรณีที่คอจานผลิตมาไม่ได้
มาตรฐาน แต่ประการใด ในทางตรงข้ามการปรับหน้าจานมูฟให้รับสัญาณได้แรงทุกดวง นั้นจำเป็นจะต้องปรับมุมชดเชยให้ถูกต้องด้วยเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ติดตั้งที่อยู่เหนือ
หรือต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตรมากๆ จะยิ่งเห็นผลของการปรับมุมชดเชยได้อย่างชัดเจน

รูปที่ 2 เครื่องรับดาวเทียม  ในฉบับนี้ เราจะมาลงมือประกอบและปรับหน้าจานกัน แต่ก่อนอื่นมท่านต้องหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งจานด้วย รวมทั้งควรติดตั้งเสาอย่างมืออาชีพ
ซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้หาอ่านได้จากบทความตอนที่2 ในฉบับที่ 18
จาน 6 ฟุต กำลังพอเหมาะ เกนการรับสูงพอ สำหรับจานมูฟที่เราจะทดลองประกอบและปรับกันนั้นผูเขียนเลือกใช้ จานดาวเทียม Dynasat แบบโปร่งขนาด 6 ฟุต ซึ่งมีขนาดเล็กกำลังเหมาะและมีเกนการรับที่สูง
ที่สำคัญคือ รองรับสัญาณได้ทั้งระบบ C และ KU Bead ซึ่งเป็นจานอีกรุ่นหนึ่งที่เป็นที่นิยมและส่งออกไปจำหน่ายหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งจาน Dynasat ยังได้รับอนุญาต
ให้ใช้เครื่องหมาย Thailand `s Brand ยังถูกจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพานิชณ์ อีกด้วย ส่วนขั้นตอนในการประกอบจานก็ยังยุ่งยาก ดูจากคู่มือที่ให้มากับชุดจานได้เลย
จุดที่เน้นคือการประกอบแล้วลอยต่อทุกจุดจะต้องเนียนเสมอกัน เพื่อโค้งหรือ Curve ของหน้าจานจะได้เสมบูรณ์การสะท้อนสัญญาณก็จะมีความถูกต้องแม้นยำมากขึ้น ซึ่งนั้น
นั้นก็หมายถึงเกนการรับัยญาณที่สูงขึ้นด้วย

ติดตั้ง LNBF เมื่อประกอบชุดจานดาวเทียมแบบมูฟขาด 6 ฟุต เสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปเราจะมาติดตั้ง LNBF ซึ่งมีรายระเอียดดังรูปที่ 4 สำหรับจานมูฟนั้น  มุม Polarize จะทำการ
ปรับโดยสังเกตให้เส้นตรงเลข 0 อยู่ขนานกับพื้นหรืออยู่ในแนวเดียวกัน กับทิศตะวันออก-ตะวันตกนั่นเอง ส่วนระยะโฟกัสก็ปรับให้ขีดที่ตรงกับเลข .38 อยู่ตรงกับขอบของ 
Scalar Ring  ตามรูปทั้งนี้เนื่องจากจาน Dynasat ขนาด 6 ฟุตที่เราเลือกใช้มี F/D ratio(อัตราส่วนระหว่างโฟกัสและเส้นผ่าศูนย์กลาง)อยู่ 0.38

การปรับจานมูฟแบบง่ายๆ  ในการติดตั่งและปรับจานมูฟหากรู้หลักการที่ถูกต้องนอกจากจะให้ช่วยใช้เวลาในการปรับน้อยลงแล้ว ยังช่วยให้รับสัญญาณจากดาวเทียมดะวงต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้วยการปรับจานดาวเทียมมูฟตามแบบฉบับของ Dynasat มีขั้นตอนในการปรับง่ายๆดังนี้
1)ใช้ตัววัดมุมชดเชยและมุมก้มเงยโดยดูค่ามุมจากแผน (อ่านนรายระเอียดได้จากตอนที่ผ่านมา) จากนั้นตั้งหน้าจานให้หันไปทางทิใต้จริง(รูปที่ 5 และรูปที่ 6 )
2)ต่อสายสัญญาณ LNBF ไปยังเครื่องรับ เปิดเครื่องรับโทรศัพน์เพื่อทดลองรับสัญญาณจริง  จากนั้นทดลองปรับหน้าจานไปรับสัญญาณจากดาวเทียมจริง จากนั้นลองปรับ
หน้าจานไปรับสัญญาณจากดาวเทียมที่อยู่ทางทิศตะวันออกสุดและตะวันตกสุด (ยังไม่ต้องติดมอเตอร์ขับจาน) ในขั้นตอนนี้ปรับมุมชดเชยและมุมส่าย(หาทิใต้จริง)
อย่างละเอียด เพื่อให้รับสัญญาณจากดาวเทียมที่อยู่มุมริมสุดทั้งสองด้านให้แรงที่สุด
3)ปรับหน้าจานไปรับสัญญษณจากดาวเทียมที่อยู่ประมาณกึ่งกลางท้องฟ้าถ้าเป็นกรุงเทพฯ จะใช้ดาวเทียม
    รูปที่ 5 ปรับมุมชดเชยและมุมก้มเงยตามค่าที่อ่านได้จากแผนที่
    รูปที่6  หันหน้าจานไปทางทิศใต้จริง
    รูปที่7  ปรับหาสัญญาณเบื้องต้น(ยังไม่ต้องติดมอเตอร์ขับจาน)
    รูปที่8  มอเตอร์ขับจาน(Actuatro)
    รูปที่9 การทำงานของมอเตอร์ขับจาน

ผู้แสดงความคิดเห็น ช่าง ช.การไฟฟ้า วันที่ตอบ 2010-02-17 19:00:21


ความคิดเห็นที่ 5 (4320785)

 คึทุกย่างลบหมดกานตั้งค่าทุกย่างลบหมดเลียขอวิทีแก้ยังไง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คึทุกย่างลบหมดเลียกานตั้งค่าลบหมดทุกย่างทำไง วันที่ตอบ 2019-07-28 13:59:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.