ReadyPlanet.com


ซื้อจานดาวเทียมมา ติดตั้ง ไม่เป็น


อยากขอรายระเอียดครับ ผมหาสัญญาณ ไม่เจอ ทั้งๆที่ทำตามขั้นตอนการติดตั้งแล้ว  งงมากครับ  ทำไงดี  ส่งช่างมาบ้านผมหน่อย


ผู้ตั้งกระทู้ กริต :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-27 10:27:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3037687)

แนะนำท่านควรไปฝึกอบรมการติดตั้งจานดาวเทียมเบื้องต้นก่อนดีกว่านะครับ ที่บริษัท PSI เขามีการอบรมอยู่บ่อยๆนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น copa วันที่ตอบ 2009-08-06 08:55:54


ความคิดเห็นที่ 2 (3155086)


                                                                                 เจาะลึกจานดาวเทียมมาติดตั้งจานกันเถอะ
                      การตั้งลิมิตนั้นตั้งได้สองระบบ คือฮาร์ดแวร์ลิมิตซึ่งต้องตั้งที่ลิมิตสวิตช์ภายในตัวมอเตอร์ขับจาน
                 ส่วนซอฟต์แวร์ลิมิตนั้นตั้งที่เครื่องรับดาวเทียม หากถามว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากัน
                 ก็คงจะตอบได้ว่าฮาร์ดแวร์ ลิมิตนั้นสำคัญที่สุด เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้หน้าจานเคลื่อนไป
                 ชนสิ่งกรีดขวางจนหน้าจานพัง หรือเคลือนออกไปจนชุดบอลสกรูของมอเตอร์ขับจาน                                                    
                                                                     หลุดออกมา แต่ซอฟแวร์ลิมิตก็มีความสำคัญไม่น้อย
                           เพราะหากเข้าใจหลักการตั้งลิมิตทั้งสองแล้ว ก็จะแก้ปัญหาเรื่องตำแหน่งเลื่อนไดอย่างหายขาด

         สวัสดีครับ จากบทความ 2 ตอนที่ผ่านมาน่าจะทำให้ท่านได้เข้าใจถึงการทำงาน และทราบรารละเอียดการติดตั้งจานมูฟ
แบบมืออาชีพนั้นมีรายละเอียดและเคล็ดลับในการปรับแต่งอยู่พอสมควรทีเดียวอีกทั้งอุปกรณ์ใช้ในการติดตั้ง ก็ต้องทำการปรับแต่ง
วีธีด้วย เป็นที่ร่ำลือกันในหมู่ช่างติดตั้งว่า การติดตั้งจานมูฟให้รับสัญญาณได้ครบและแรงถือว่ายากพอสมควรทีเดียว ช่างหลายคน
ถึงกลับเข็ดหยาดไม่อยากติดให้ลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วการติดตั้งจานมูฟหากเข้าใจหลักการทำงานเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี
และใช้เครื่องมือในการปรับแต่งถูกวิธี การติดตั้งจานมูฟก็ไม่ใช้เรื่องที่ยากเกินกำลังความสามารถของท่านนอกจากนี้การติดตั้ง
จานมูฟยังสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับช่างติดตั้งอีกด้วย ที่สำคัญการแข่งขันด้านราคายังไม่รุ่แรงเหมือนจานฟิกซ์ และคงจะดีไม่น้อย
หากเราทำเรื่องที่ช่างคนอื่นๆคิดว่ายากได้ยากสบายๆ

                                                                              หลักสำคัญในการติดตั้งจานมูฟ

 การติดตั้งจานมูฟของค่อยอื่นๆ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอกันก็คือติดตั้งแล้วรับสัญญาณได้ไม่ครบ หรือแต่สัญญาณไม่แรงพอ และปัญหาชวนปวดหัวก็คือ
มูฟไม่มูฟมาหลายๆรอบแล้วตำแหน่งที่เซ็ตไว้คลาดเคลื่อน พอใช้ไปนานก็รับสัญาณไม่ได้เพราะที่เซ็ตไว้คลาดเคลื่อนไปหมด ในที่เราจะ มาเจาะลึก
ว่าปัญหาดังกล่าวข้างต้นเกิดจากอะไรและจะมีทางแก้ไขได้อย่างไร

                                                                   การเลือกใช้ตัวมุมที่เหมาะสมที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญอย่างมาก
เพราะตัววัดมุมแบบที่ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ตามรูปมีความแม่นยำกว่าแบบอื่นๆ มาก เนื่องจากถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับงานที่ต้องความละเอียดสูง
 แตกต่างจากรุ่นราคาถูกที่มีขายตามร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ตัววัดมุมเหล่านั้นมีค่าผิดพลาด(Erroe)ค่อนข้างสูง เนื่องจากเอาไปใช้วัดงานก็สร้าง
ทั่วไป ลองดูเล่นๆสมมุติว่าค่าที่อ่านได้ผิดพลาดไป 1 องศา (หมายว่ามุมก้ม-เงยผิดพลาดไป 1องศา มุมชด เชยพลาดไป 1 องศา) อาจทำให้สัญญาณไม่เจอเลย
กว่าจะหาสัญญาณได้ครบและแรงก็ต้องลองปรับมุมชดเชยและมุมก้ม-เงยกลับไปมา ทำให้เสียเวลาอย่างมาก ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และ
ใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธีจะทำให้ท่านประหยัดเวลาลงไปได้มากทีเดียว และต้องอย่าลืมว่าในการติดตั้งและปรับจานนั้น ท่านต้องทำกลางแจ้ง โดยเฉพาะ
วันที่แดดจัดคงไม่ใช่เรื่องสนุกนักที่จะมาเสียเวลาที่ไม่ใช่เหตุ
                          
                                                                           ปัญหาที่ทำให้ตำแหน่งดาวเทียมเคลื่อน
         ปัญหาหลักๆตำแหน่งเลื่อนนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องรับดาวเทียมแบบที่มีโพซิชั่นเนอร์(Positioner)  หรือตัวควบคุมมอเตอร์ขับจานในตัว  มัก
ถูกออกแบบให้ใช้CPUร่วมกันกับเครื่องรับ โดยปกติแล้ว CPU ในเครื่องรับดาวเทียมมีหน้าที่หลักๆ ที่จะต้องควบคุมการทำงานวงจรในส่วนต่างๆของ
เครื่องรับ นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลที่รับเข้ามาให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง และยังต้องทำหน้าที่แสดงข้อมูลต่างๆ บนหน้าจอ
ทีวีอีกด้วย สำหรับเครื่องรับแบบที่มีโพซิชั่นเนอร์ในตัว CPU ต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้นคือต้องสั่งการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ให้หมุนไปทางซ้ายหรือ
ขวา และยังต้องนับพัลซ์ที่ถูกส่งมาจากมอเตอร์ขับจานอีกด้วยเพื่อตรวจสอบกับข้อมูลในหน่วยความจำว่าถึงตำแหน่งที่มอเตอร์จะต้องหยุดหมุนรือยัง

          ดังนั้นเมื่อCPU ทำงานนับพัลซ์ไม่ทันทำให้หยุดไม่ตรงตำแหน่ง เช่นเลื่อนไปครั้งละ 1-2 สเต็ปการเลื่อนไป1-2 สเต็ส สำหรับดาวเทียมที่มีสัญญาณ
แรงปกติ จะไม่มีผลกระทบต่อการรับสัญญาณเลย แต่เมื่อมีการสั่งมูฟไปยังดาวเทียมดวงต่างๆมากขึ้น ตำแหน่งจานก็จะเลื่อนสะสมมากขึ้นเช่นกัน จำใน
ที่สุดก็รับสัญญาณไม่ได้เลย กลายเป็นภาระของช่างติดตั้งจะต้องเข้าไปบริการลูกค้า นอกจากนั้นบ้างครั้ง CPU ทำงานไม่ทันจนเกิดการรวน หรือที่เรียกว่า
 CPU แฮ็งค์ก็อาจทำให้โปรแกรมช่องต่างๆที่โปรแกรมไว้หายเกลี้ยงเลยก็มี แต่สำหรับเครื่อง Dynasat ที่มีโพซิชั่นเนอร์ (Positioner) อยู่ในเครื่องรับนั้น
ถูกออกแบบให้มี CPU ไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro Controller)แยกออกมาควบคุมมอเตอร์ขับจานโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันการทำงานผิดพลาด
รวมถึงในกรณีที่ระหว่างมูฟจานแล้วเกิดไฟดับหรือปลั๊กหลุด ก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาตำแหน่งเลื่อนหรือไม่จำตำแหน่งใดๆทั้งสิ้น ท่านจึงมั่นใจได้ว่าติดตั้ง
ไปแล้วไม่ต้องกลับไปเซอร์วิสบ่อยๆ
       วงจรโพซิชั่นเนอร์(Positioner)นี้ ที่ออกแบบโดยกลุ่มวิศวกรของ Dynasat ซึ่งตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่อนมา Dynasat ได้มีส่วนร่วมออกแบบ และ
แก้ไขปัญหาวงจรโพซิชั่นเนอร์ให้กับโรงงานผู้ผลิตในไต้หวันและเกาหลี จนเป็นที่ทราบดีกันกลุ่มโรงงานผู้ผลิตเครื่องรับดาวเทียมว่า หากมีผลัตภัณฑ์
ใหม่ออกมาจะต้องส่งมาให้ Dynasat ทดสอบและช่วยแนะนำว่าควรจะต้องแก้ไขอะไรอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ช่างติดตั้งว่า นอกจากนี้
Dynasat ยังเป็นที่สุดยอดของจานมูฟอีกด้วย
 
                                                                      การทำงานของมอเตอร์ขับจาน(actualtor)
การทำงานของมอเตอร์ขับจานนั้นหากแบ่งตามลักษณะของการทำงานแล้วจะแบ่งออกเป็นได้สองส่วนคือส่วนที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่และส่วนของการ
ส่งข้อมูลกลับ(Pulse feed back)แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่นั้นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเครื่องผ่านระบบเฟืองทดรอบเพื่อเพิ่มแรง และใช้ระบบ
บอลสกรู(Ball screw)เป็นตัวขับก้านชักแรงดันที่ป้อนให้กับมอเตอร์ขับจานนั้นจะอยู่ในช่วง 24-36 โวตต์ ส่วนการส่งข้อมูลกลับไปยังชุดควบคุม หรือที่เรียก
ว่าตัวโพซิชั่นเนอร์(Positioner) มีควานจำเป็นอย่างมากเพราะจะเป็นข้อมูลที่จะบอกว่าก้านชักของมอเตอร์ขับจานนั้นไปที่มาก-น้อยแค่ไหนแล้ว สัญญาณ
หรือข้อมูลที่ป้อนกลับไปยังตัวโพซิชั่นเนอร์(Positioner)มีลักษณะเป็นสัญญาณ Pulse ซึ่งมีหลักการทำงานโดยอาศัยสนามแม่เหล็กตัดกับหรีดเซ็นเซอร์
(Reed sensor) หรือสวิตช์แม่เหล็กที่ใช้สำหรับติดตามขอบปะตู-หน้าต่างในระบบกันขโมย
        แต่ยังมีความเข้าใจผิดจากผู้จำหน่ายจานดาวเทียมหลายๆค่ายที่ชุดมูฟมักเกิดปัญหาเรื่องตำแหน่งเลื่อนประจำโดยเข้าใจว่าที่ตำแหน่งเลื่อนประจำโดยเข้า
ใจว่าที่ตำแหน่งเลื่อนบ่อยๆนั้นเป็นเพราะขั้วของหรีดเซ็นเซอร์ไม่แน่นจึงแนะนำช่างติดตั้งให้ทำการบักกรี โดยหารู้ ไม่ว่ากลับยิ่งทำให้เกิดปัญหาหนักขึ้น
เพราะนี้เพราะหรีดเซ็นเซอร์ทำงานโดยอาศัยหลักการสรนามแม่เหล็ก โดนใช้โครงสร้างของหรีดเซ็นเซอร์จะประกอบด้วยการของคอนแทกต์
ที่เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ เมื่อมีสนามแม่เหล็กเข้ามาใกล้แรงของสนามแม่เหล็กจะพยายามทำให้หน้าคอนแท็กต์ทั้งสองติดกัน การยึดติดเซ็นเซอร์
นั้นจะใช้ช๊อกเก็ต(Sockec)เป็นตัวยึดขาหรีดเซ็นเซอร์แทนตัวบัดกรีด้วยเหตุผลที่ว่า หากเราทบทวนคุณสมบัติของแม่เหล็ก จากข้อเท็จจริงในการทำราย
สนามแม่เหล็ก ซึ่งทำได้ 3 วิธี
           1.สนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กถาวรจะถูกทำลายได้ โดยการป้อนสนามแม่เหล็กที่แรงกว่าและมีสลับขั้วอย่างรวดเร็ว อธิบายได้ง่ายๆ
คือการเอาขดรวดไฟฟ้ามาพันแท่งแม่เหล็กถาวรแล้วป้อนไฟ AC (กระแสลับ)ลหังจากนั้นสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กจะอ่อนแรงลง
          2.โดยการทุบแทงแม่เหล็กอย่างรุนแรง เนื่องจากแม่เหล็กได้รับการทุบอย่างรุนแรง โมเรกุลพายในแท่งแม่เหล็กจะมีการสะเทือนสลับกันไปมา
ทำให้สนามแม่มีการหักล้างกันพายในระหว่างโมเรกุลความแรงของสนามแม่เหล็กจึงลดลง
          3.โดยการให้ความร้อน เมื่อให้ความร้อนกับแท่งแม่เหล็ก ความร้อนจะทำให้โมเลกุลพายในแท่งแม่เหล็กเกิดการเคลื่อนที่ทำให้สนามแม่เหล็ก
เกิดการหักล้างกันพายในระหว่างโมเลกุล เช่นเดียวกับการทุบ ความแรงของสนามแม่เหล็กจึงลดลงเช่นกัน
           หากพิจรณาจากคุณสมบัติข้างต้น จะเห็นว่าบัดกีที่ขั้วของหรีดเซ็นเซอร์ เป็นการป้องกันความร้อนเข้าไปโดยตรง อีกทั้งที่ก้านคอนแท็ค
ที่เคลือบสารแม่เหล็กมีขนาดเล็กมาก ความร้อนจะเกิดบัดกรีจึงไม่สามารถถ่ายเทออกไปได้ ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือสนามแม่เหล็กที่ก้านคอนแท็ค
จะมีความแรงลดลง การบัดกรีที่ขาของหรีดเซ็นเซอร์จึงเป็นการลดอายุการใช้งานของหรีดเซ็นเซอร์ลง เมื่อใช้งานไปได้ไม่นานก็เกิดอาการดูดบ้างไม่ติดบ้าง
 ทำให้ปัญหาเลื่อนรุนแรงยิ่งขึ้น
               การติดตั้งมอเตอร์ขับจาน (Actuator)นั้นมีจุดที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษอีกจุดหนึ่งคือลิมิต(Limit)หรือจุดสิ้นสุดการตั้งลิมิตนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้จานเคลื่อน
ที่เลยออกไปชนกับสิ่งกรีดขวาง เช่นรั้ว ต้นไม่หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้ๆจานรวมทั้งป้องกันไม่ให้ก้านของมอเตอร์ขับจานยื่นเลยออกไปจนหลุด
การตั้งลิมิตนั้นตั้งได้สองระบบ คือฮาร์ดแวร์ลิมิต(Hardware Lmit)ซึ่งเราจะทำการตั้งลิมิตสวิทช์ภายในตัวมอเตอร์ขับจาน ส่วนซอฟแวร์ลิมิต
(Software Limit)นั้นเราจะทำการตั้งที่เครื่องรับจานดาวเทียม(เพื่อความสะดวกส่วนใหญ่วิศวกรจะเรียกกันสั้นๆว่า ฮาร์ดลิมิต Hard-Limit และซอฟต์ลิมิต
(Soft-Limit)หากถามว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากันก็คงจะตอบได้ว่า ฮาร์ดแวร์ลิมิตสำคัญที่สุดเพราะเป็นด่านสุดท้ายที่ต้องป้องกันไม่ให้หน้าจานนั้นไปชนสิ่งกีดขว้าง
จนหน้าจานพังหรือเครื่องออกไปเกิดจนชุดบอลสกรูของมอเตอร์ขับจานหลุดออกมา แต่ซอฟแวร์ลิมิตทั้งสองแล้วก็จะแก้ปัญหาเรื่องตำแหน่งเลื่อยได้อย่างหายขาด แต่การตั้งลิมิตนั้น
ก็มีเคล็ดลับในการตั้งเช่นกัน ซึ่งจะขออธิบายพร้อมวงจรการทำงานของโพซิชั่นเนอร์อย่างง่ายๆในตอนจ่อไป
          
                                    พบกับใหม่ในฉบับต่อไป พร้อมเจาะลึกเคล็ดลับเทคนิคการปรับจานมูฟอย่างมืออาชีพ ฉบับนี้ต้องขอลาไปก่อน
                                                                                               **  สวัสดีครับ  **

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-02-16 18:10:11



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.