ReadyPlanet.com


รวมข่าวดาวเทีม วันที่ 16 กค 2014


ย้ายจุดหาเอ็มเอช370 หลังวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมอย่างละเอียด

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานโดยอ้างรายงานข่าวอง หนังสือพิมพ์เวสต์ ออสเตรเลียน ของออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ระบุว่า ปฏิบัติการค้นหาเครื่องบินของสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบินเอ็มเอช370 ที่หายไปตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม ได้มีการเปลี่ยนพื้นที่ค้นหาห่างออกไปจากพื้นที่ค้นหาตอนนี้ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 800 กิโลเมตร 

   โดยศูนย์ประสานงานตัวแทนความร่วมมือ (เจเอซีซี) ของออสเตรเลีย แจ้งว่า การเปลี่ยนแปลงจุดค้นหามีขึ้นหลังการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมสื่อสารอย่างละเอียด ซึ่งทางเจเอซีซีเตรียมที่จะแถลงรายละเอียดในสิ้นเดือนนี้  
 
 
 



ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2014-07-16 08:28:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3670665)

บอร์ด กสท.เตรียมปล่อยช่องดาวเทียมออกอากาศ/ประชาพิจารณ์คูปองดิจิตอล

เช้าวันจันทร์ 23 มิ.ย.บอร์ด กสท.เตรียมปล่อยช่องดาวเทียมที่เหลือออกอากาศ พร้อมเตือนหากเจอการทำผิดกฎหมายโฆษณาอาหาร – ยา โทษหนักขึ้น ส่วนช่วงบ่าย กสทช.นัดพิเศษ ลุ้นทำประชาพิจารณ์และพิจารณาโครงการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลประเทศไทย "สุภิญญา" เสนอ เปิดราคาต้นทุนและค่าบริหารจัดการ พร้อม ข้อดี ข้อเสียกล่องแต่ละประเภทให้สาธารณะก่อนตัดสินใจ
       
       นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในวันจันทร์ที่ 23 มิ.ย.นี้ มีวาระการประชุมน่าสนใจได้แก่ การพิจารณาแจ้งยืนยันการประกอบกิจการโทรทัศน์ สำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ หรือ ทีวีดาวเทียมที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.ภายหลังการอนุญาตตามประกาศ คสช.ซึ่งเมื่อวันศุกร์ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการทั้ง 3 ชุด ได้แก่ ชุดไม่ใช้คลื่นความถี่ ชุดผังรายการและเนื้อหารายการ และชุดคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณาข้อมูลสถานีโทรทัศน์ 101 ช่องรายการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมาย เพื่อประกอบการพิจารณายืนยันเป็นช่องรายการแบบบอกรับสมาชิก ในการตรวจเทปย้อนหลัง ของสำนักงานได้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุข และอาจารย์จากคณะเภสัช จุฬาฯ มาร่วมตรวจสอบ
       
       พบว่าสามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มที่ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และกลุ่มที่มีการกระทำที่เข้าข่าย แต่ไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรง เบื้องต้นคณะอนุกรรมการเห็นว่าควรให้โอกาสในการปรับตัวให้มีการดำเนินการได้อย่างถูกต้องภายใต้เงื่อนไขโดยทั่วไป 58 ช่อง กลุ่มที่ 2. พบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างชัดเจน เห็นควรมีมาตรการให้สำนักงาน กสทช. หารือ ตักเตือนช่องรายการดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจและกำหนดแนวทางการปรับตัวให้ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง จำนวน 42 ช่อง และกลุ่มที่ 3. ช่องที่ขอยกเลิกการประกอบกิจการ จำนวน 1 ช่อง
       
       นอกจากนี้ยังมีช่องรายการอื่นๆ ที่ส่งเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้อง จึงได้ประสานเพื่อให้จัดส่งใหม่ อีก 19 ช่อง และช่องที่อยู่ระหว่างการส่งเอกสาร หลักฐาน เพื่อการพิจารณา 21 ช่อง ซึ่งหากช่องดาวเทียมช่องไหนที่ไม่มีการกระทำผิดเรื่องโฆษณาอาหารและยา หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ คาดว่าในการประชุมครั้งนี้จะได้รับการพิจารณาให้สามารถกลับมาออกอากาศได้อีก ส่วนช่องไหนยังไม่ได้รับการพิจารณา สำนักงานมีแผนจะเชิญผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจ และทำข้อตกลงปรับผังรายการให้ถูกกฎหมายต่อไป ส่วนช่องที่เคยทำผิด กม.มาก่อนจะถูกหมายเหตุไว้ในเงื่อนไขการคืนสิทธิ์ด้วย เพราะหลังการได้รับสิทธิไปแล้วหากพบการโฆษณา หรือรายการที่ทำผิดอีกจะมีมาตรการดำเนินการทางปกครองที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งสาธารณะสามารถช่วยเฝ้าระวังและร้องเรียนเข้ามาได้
       
       รวมทั้งช่องทีวีการเมืองอย่าง T News แม้ได้รับการปลดล็อกแล้ว แต่เนื่องจากเคยพบเรื่องร้องเรียนโฆษณาที่ผิดกฎหมาย อย. ก็จะมีหมายเหตุห้ามทำผิดอีก เช่นกัน ส่วนช่องจอสีการเมืองที่ถูกสั่งระงับ อย่างไรต้องรอ สำนักงาน กสทช. หารือกับ คสช.ก่อนเพราะติดประกาศฉบับที่ 15 ของ คสช.
       
       นอกจากนี้ยังมีวาระอื่นของการประชุมบอร์ด กสท. อย่าง การอนุมัติผังรายการทีวีดิจิตอลเพิ่มเติม 2 ช่อง วาระการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์(ฉบับที่ 3) พ.ศ. ... วาระสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดำเนินการต่อร่างประกาศ กสทช. ว่าด้วย หลักเกณฑ์กำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จำนวน 2 ฉบับ และวาระการตรวจสอบแบบสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก พ.ศ. 2556
       
       ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกัน จะมีการประชุมบอร์ด กสทช.นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่อง โครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ (กทปส.) ดังนี้ หนังสือถึงประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในการขอความอนุเคราะห์ข้อมูลและเอกสารประกอบโครงการฯเพิ่มเติม รายงานการประเมินราคากล่อง Set Top Box และสายอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของคณะทำงานฯ รวมถึงข้อสังเกตต่างๆจากการประชุมกลุ่มย่อยฯ หนังสือถึงคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ในการขอความอนุเคราะห์ข้อมูลราคากล่องแปลงสัญญาณทีวีระบบดิจิตอล พร้อมทั้งหนังสือชี้แจงข้อมูลของคณะกรรมการฯ ภาคประชาชน มติที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช. ในการพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายของโครงการฯ นอกจากนี้พิจารณาการดำเนินการที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามมติคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. หรือไม่
       
       โดยนางสาวสุภิญญา กล่าวว่า การพิจารณาครั้งนี้มีการรวบรวมความคิดเห็นข้อมูลในหลายประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ รายงานการประเมินราคากล่อง Set Top Box และสายอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของคณะทำงานฯ ตามมติคณะกรรมการกองทุน ซึ่งตนเองได้เสนอว่าควรมีการเปิดเผยราคาต้นทุน ค่าบริการ และภาระต่างๆที่เกิดขึ้นจากการจัดการต่างๆ ต่อสาธารณะ เพื่อจะได้นำมาประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ได้มีความเห็นเอกฉันท์ว่า การดำเนินโครงการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลนี้เป็นการใช้อำนาจในเชิงของการกำกับดูแลที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะและของประชาชนจึงต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะ ตามมาตรา 28 แห่ง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 รวมทั้งการกำหนดราคากลางของอุปกรณ์เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดมูลค่าคูปองให้เหมาะสม ในประเด็นข้อกฎหมายที่อยู่ในการดูแลและบังคับใช้ ซึ่งสำนักงานควรหารือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อไป และประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
       
       "การจัดทำประชาพิจารณ์จะเป็นโอกาสในการนำข้อมูลสำคัญ เช่นต้นทุนราคา และข้อดีข้อเสียของกล่องภาคพื้นดิน ดาวเทียมมาถกเถียงกัน รวมทั้งวิธีการแจกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ให้ชาวบ้านช่วยเสนอแนะ ใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการสร้างความตื่นตัวของผู้บริโภค และยังช่วยแก้ความเข้าใจผิดเรื่องมิจฉาชีพลวงด้วย"
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:38:39


ความคิดเห็นที่ 2 (3670667)

 กสทช.-กสท. ประชุมบอร์ด ปลดล็อคช่องทีวีดาวเทียม วันนี้

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า วันนี้ (23 มิถุนายน 2557) ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 27/57 มีวาระการประชุมน่าจับตา ได้แก่ การพิจารณาแจ้งยืนยันการประกอบกิจการโทรทัศน์ สำหรับกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ หรือ ทีวีดาวเทียมที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. ภายหลังการอนุญาตตามประกาศ คสช.

นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า เมื่อวันศุกร์ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการทั้ง 3 ชุด ได้แก่ ชุดไม่ใช้คลื่นความถี่ ชุดผังรายการและเนื้อหารายการ และชุดคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณาข้อมูลสถานีโทรทัศน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมาย เพื่อประกอบการพิจารณายืนยันเป็นช่องรายการแบบบอกรับสมาชิก ในการตรวจเทปย้อนหลัง ของสำนักงานได้มีเจ้าหน้าที่จาก อย. กระทรวงสาธารณสุข และ อาจารย์จากคณะเภสัช จุฬาฯ มาร่วมตรวจสอบ พบเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มที่ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และกลุ่มที่มีการกระทำที่เข้าข่าย แต่ไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรง เบื้องต้นคณะอนุกรรมการเห็นว่าควรให้โอกาสในการปรับตัวให้มีการดำเนินการได้อย่างถูกต้องภายใต้เงื่อนไขโดยทั่วไป 58 ช่อง กลุ่มที่ 2 พบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างชัดเจน เห็นควรมีมาตรการให้สำนักงาน กสทช. หารือ ตักเตือนช่องรายการดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจและกำหนดแนวทางการปรับตัวให้ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง จำนวน 42 ช่อง และกลุ่มที่ 3 ช่องที่ขอยกเลิกการประกอบกิจการ จำนวน 1 ช่อง นอกจากนี้ยังมีช่องรายการอื่นๆ ที่ส่งเอกสาร หลักฐาน ไม่ถูกต้อง จึงได้ประสานเพื่อให้จัดส่งใหม่ อีก 19 ช่อง และช่องที่อยู่ระหว่างการส่งเอกสาร หลักฐาน เพื่อการพิจารณา 21 ช่อง

ทั้งนี้ หากช่องดาวเทียมช่องไหนที่ไม่มีการกระทำผิดเรื่องโฆษณาอาหารและยา หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ คาดว่าวันจันทร์นี้จะได้รับการพิจารณาให้สามารถกลับมาออกอากาศได้อีก ส่วนช่องไหนยังไม่ได้รับการพิจารณา สำนักงานมีแผนจะเชิญผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจ และทำข้อตกลงปรับผังรายการให้ถูกกฎหมายต่อไป ส่วนช่องที่เคยทำผิดกม.มาก่อนจะถูกหมายเหตุไว้ในเงื่อนไขการคืนสิทธิ์ด้วย เพราะหลังการได้รับสิทธิไปแล้วหากพบการโฆษณา หรือรายการที่ทำผิดอีกจะมีมาตรการดำเนินการทางปกครองที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งสาธารณะสามารถช่วยเฝ้าระวังและร้องเรียนเข้ามาได้ รวมทั้งช่องทีวีการเมืองอย่าง T News แม้ได้รับการปลดล็อกแล้ว แต่เนื่องจากเคยพบเรื่องร้องเรียนโฆษณาที่ผิดกฎหมาย อย. ก็จะมีหมายเหตุห้ามทำผิดอีก เช่นกัน ส่วนช่องจอสีการเมืองที่ถูกสั่งระงับ อย่างไรต้องรอ สำนักงาน กสทช. หารือกับ คสช.ก่อนเพราะติดประกาศฉบับที่ 15

ส่วนวาระอื่น กสท. น่าจับตา ได้แก่ การอนุมัติผังรายการทีวีดิจิตอลเพิ่มเติม 2 ช่อง วาระการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. … วาระสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและแนวทางดาเนินการต่อร่างประกาศ กสทช. ว่าด้วย หลักเกณฑ์กำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จานวน 2 ฉบับ และวาระการตรวจสอบแบบสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก พ.ศ. 2556 …ผลเป็นอย่างไร ชวนจับตา

และช่วงบ่ายวันเดียวกัน มีการประชุมบอร์ด กสทช.นัดพิเศษ จะมีการพิจารณาเรื่อง โครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ(กทปส.) ดังนี้ หนังสือถึงประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ในการขอความอนุเคราะห์ข้อมูลและเอกสารประกอบโครงการฯเพิ่มเติม รายงานการประเมินราคากล่อง Set Top Box และสายอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของคณะทำงานฯ รวมถึงข้อสังเกตต่างๆจากการประชุมกลุ่มย่อยฯ หนังสือถึงคณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ในการขอความอนุเคราะห์ข้อมูลราคากล่องแปลงสัญญาณทีวีระบบดิจิตอล พร้อมทั้งหนังสือชี้แจงข้อมูลของคณะกรรมการฯภาคประชาชน มติที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช. ในการพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายของโครงการฯ นอกจากนี้พิจารณาการดำเนินการที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามมติคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. หรือไม่

“การพิจารณาครั้งนี้มีการรวบรวมความคิดเห็นข้อมูลในหลายประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ รายงานการประเมินราคากล่อง Set Top Box และสายอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลของคณะทำงานฯ ตามมติคณะกรรมการกองทุน ซึ่งตนเอง ได้เสนอว่าควรมีการเปิดเผยราคาต้นทุน ค่าบริการ และภาระต่างๆที่เกิดขึ้นจากการจัดการต่างๆ ต่อสาธารณะ เพื่อจะได้นำมาประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ได้มีความเห็นเอกฉันท์ว่า การดำเนินโครงการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลนี้เป็นการใช้อำนาจในเชิงของการกำกับดูแลที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะและของประชาชนจึงต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะ ตามมาตรา 28 แห่ง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 รวมทั้งการกำหนดราคากลางของอุปกรณ์เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดมูลค่าคูปองให้เหมาะสม ในประเด็นข้อกฎหมายที่อยู่ในการดูแลและบังคับใช้ ซึ่งสำนักงานควรหารือจากคณะกรรมการ ปปช. ต่อไป และประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง”

“การจัดทำประชาพิจารณ์จะเป็นโอกาสในการนำข้อมูลสำคัญ เช่นต้นทุนราคา และ ข้อดีข้อเสียของกล่องภาคพื้นดิน ดาวเทียมมาถกเถียงกัน รวมทั้งวิธีการแจกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ให้ชาวบ้านช่วยเสนอแนะ ใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการสร้างความตื่นตัวของผู้บริโภค และยังช่วยแก้ความเข้าใจผิดเรื่องมิจฉาชีพลวงด้วย” สุภิญญา กล่าว
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:40:16


ความคิดเห็นที่ 3 (3670672)
ดิจิตอลช่อง “เด็ก-ข่าว” วูบ โฆษณาแป้กต้นทุนผลิตสูง

ทีวีดิจิตอลเริ่มระส่ำ โฆษณาไม่เข้าตามคาด เม็ดเงินโฆษณาทางสื่อทีวีเดือน พ.ค.ติดลบ 8.72% ชี้ 24 ช่องทีวีดิจิตอลอาจจะล้มหายเร็วกว่าที่คาดการณ์ บิ๊กแชนเนลที่อยู่ได้อาจไม่ถึง 5 ช่อง มองทีวีดาวเทียมหายไปกว่า 100 ช่อง ส่งผลดีให้ทีวีดิจิตอลเกิดได้เร็วขึ้น

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอกมีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด หรือ BMB และผู้อำนวยการสถานีช่องทีวีดิจิตอล PPTV เปิดเผยว่า หลังจากที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ และระงับการออกอากาศของช่องทีวีดาวเทียมไปกว่า 100 ช่องในช่วงที่ผ่านมานั้นถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับช่องทีวีดิจิตอล เพราะแบนด์วิธสัญญาณมีเหลือช่องที่เหลือจึงมีความคมชัดมากขึ้น ทำให้ช่องขยะหายไปมาก โอกาสของช่องทีวีดิจิตอลจึงมีสูงมากที่คนไทยจะเข้าถึงและรับชม ดังนั้นจึงมองว่าหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ มีการจัดระเบียบที่ชัดเจน อนาคตที่ทีวีดิจิตอลจะเกิดขึ้นอาจจะเร็วขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้

“คสช.เข้ามาดูแลช่องทีวีดาวเทียมถือเป็นเรื่องที่ดีต่อช่องทีวีดิจิตอล โดยโอกาสที่ช่องทีวีดาวเทียมเหล่านี้จะกลับมาออกอากาศได้อีกนั้นมองว่าไม่น่าจะเกินหลัก 10 ช่อง ส่วนใหญ่จะเป็นช่องบันเทิง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเม็ดเงินโฆษณาที่เป็นตัวชี้วัดการเกิดของช่องทีวีดิจิตอลด้วย เห็นได้จากช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโฆษณาตกลง เม็ดเงินโฆษณายังไม่เข้าช่องทีวีดิจิตอลมากนัก อาจจะส่งผลให้ในความเป็นจริงช่องทีวีดิจิตอลจะอยู่ได้จริงไม่เกิน 5 ช่อง”

นายเขมทัตต์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันช่องทีวีดิจิตอล 24 ช่อง จาก 17 บริษัท ที่กำลังออกอากาศอยู่นั้น เมื่อเทียบกับปัจจัยบวกอย่างเม็ดเงินโฆษณาที่จะช่วยกระตุ้นให้ทีวีดิจิตอลเกิดขึ้นได้เร็วแล้ว มองว่า 3 ช่องรายการเด็กจะหายไปก่อน เพราะเม็ดเงินโฆษณาเข้าน้อย อีกทั้งเป็นเซกเมนต์ที่สินค้าลงโฆษณาอยู่แล้วน้อยมาก ส่วนอีก 7 ช่องข่าวเป็นช่องที่มีต้นทุนในการผลิตข่าวสูงมาก ทำให้การแข่งขันสูงตามไปด้วย การที่จะอยู่ได้ครบจึงเป็นไปได้ยาก ช่องที่มีเรตติ้งและคอนเทนต์ หรือต้นทุนข่าวเดิมอยู่แล้วจะมีโอกาสมากกว่า

ส่วนกลุ่มช่องที่มีโอกาสอยู่ได้มากที่สุดคือกลุ่ม 7 ช่องทีวีดิจิตอลแบบวาไรตี้ที่ออกอากาศแบบ HD จากโครงสร้างคอนเทนต์ที่ใกล้เคียงกับฟรีทีวีในปัจจุบันจะเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้ดีกว่า บวกกับความคมชัด จึงทำให้มีโอกาสมากกว่า โดยขณะนี้ช่องที่มีแนวโน้มแข็งแกร่ง ได้แก่ ไทยรัฐทีวี PPTV และอัมรินทร์ทีวี รวมถึงช่อง 7 ที่ออกคู่ขนานกับฟรีทีวี ส่วนช่อง 9 และช่อง 3 ที่ออกอากาศแบบ HD ยังนิ่งอยู่ ดังนั้นในท้ายที่สุดทีวีดิจิตอลอาจจะเกิดขึ้นได้เร็วจริง แต่ก็น่าจะเหลืออยู่แค่ไม่เกิน 5 ช่องเท่านั้น

ในส่วนของช่อง PPTV นั้น ยอมรับว่าจากภาพรวมของตลาดอุตสาหกรรมโฆษณาที่ติดลบมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี ทำให้เม็ดเงินที่จะเข้ามาในช่องทีวีดิจิตอลไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ขณะนี้ต้องมีการทบทวนแผนการดำเนินงานทุก 2 เดือน เน้นจัดทำผังรายการให้นิ่ง มุ่งบริหารต้นทุน ถึงสิ้นปีนี้น่าจะพอมีรายได้อยู่บ้าง แม้ว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้แต่แรก

� งบโฆษณา พ.ค.ติดลบ 11.69%

ทั้งนี้ เป็นไปตามผลสำรวจของ “นีลเส็น คอมปะนี” ที่พบว่าภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณาในเดือน พ.ค.57 ที่ผ่านมาติดลบ 11.69% หรือมีมูลค่าที่ 8,580 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน ซึ่งมีเพียงสื่อทรานซิตเท่านั้นที่ยังเติบโตอยู่ 4.01% คิดเป็นมูลค่า 311 ล้านบาท ขณะที่สื่อหลักอย่างสื่อทีวีติดลบ 8.72% หรือมีมูลค่าเพียง 5,484 ล้านบาท สื่อวิทยุติดลบ 15.34% หรือมีมูลค่าเพียง 458 ล้านบาท และสื่อหนังสือพิมพ์ติดลบ 16.22% มีมูลค่า 1,033 ล้านบาท โดยสื่ออินสโตร์ติดลบมากสุดถึง 49.26% หรือมีมูลค่า 137 ล้านบาท

ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค. 57-พ.ค.57) ยังคงติดลบต่อเนื่องที่ 9.20% หรือมีมูลค่าที่ 41,034 ล้านบาท โดยสื่อหลักอย่างสื่อทีวีติดลบ 7% หรือมีมูลค่าที่ 26,306 ล้านบาท สื่อวิทยุติดลบ 13.91% หรือมีมูลค่าที่ 2,110 ล้านบาท และสื่อหนังสือพิมพ์ติดลบ 14.93% ใช้ไป 5,019 ล้านบาท โดยมีเพียงสื่อทรานซิตที่ยังเติบโตอยู่ 0.57% หรือใช้ไป 1,421 ล้านบาท
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:41:31


ความคิดเห็นที่ 4 (3670673)

 คสช.เชิญสื่อทำความเข้าใจการทำงาน คกก.ตามการเสนอข่าว     พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก และเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เชิญผู้บริหารสื่อมวลชนในประเทศ ทั้งโทรทัศน์ดิจิตอลและดาวเทียม รวมทั้งหนังสือพิมพ์ จำนวน 42 สำนัก อาทิ นายอนุสรณ์ ศิริชาติ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักข่าวในประเทศ และนายสุวิช สุทธิประภา บรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าวในประเทศ 1 บมจ.อสมท นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ นายสนธิญาน ชื่นฤทัยในธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวทีนิวส์ ร่วมหารือกับ คสช.และทีมโฆษก

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:43:27


ความคิดเห็นที่ 5 (3670675)

กสท.เตรียมใช้ยาแรง หากพบโฆษณาเกินจริงบนทีวีดาวเทียม

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า วันจันทร์นี้ (30 มิ.ย.) ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เตรียมพิจารณาแจ้งยืนยันการประกอบกิจการโทรทัศน์ประเภทไม่ใช่คลื่นบอกรับสมาชิก (ช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิล) โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ กสทช. ทั้งการต้องเข้ารหัสตอนส่งขึ้นดาวเทียม และส่งสัญญาณกลับมาผ่านกล่องรับสัญญาณ และอนุญาตโฆษณาชั่วโมงละไม่เกิน 6 นาที หลังจากได้ตรวจสอบช่องทีวีที่ละเมิดกฎหมายและเอาเปรียบผู้บริโภคพร้อมทำเงื่อนไขใบอนุญาตเพิ่ม หลังจากได้เชิญผู้ประกอบการที่เข้าข่ายการเอาเปรียบผู้บริโภคจากการโฆษณาเกินจริงมาทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อยืนยันว่าได้รับทราบและเข้าใจหลักเกณฑ์ที่เป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภค ตามประกาศ กสทช. จึงได้ลงนามข้อตกลง และเตรียมเสนอรายชื่อให้บอร์ด กสท.พิจารณาวันจันทร์นี้ เมื่อกลับมาออกอากาศต้องส่งเทปกลับมาให้สำนักงานตรวจเป็นเวลา 2 เดือน โดยช่วงเดือนแรกให้ส่งทุก 7 วัน หลังจากนั้นจะสุ่มเรียกตรวจเป็นระยะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:45:13


ความคิดเห็นที่ 6 (3670678)
สพฐ.ตั้งเป้า 5 ธันวานี้ขยายเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมครบทั้งประเทศ

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการ กพฐ. วันนี้ (30 มิ.ย.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ตนดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กพฐ. นั้น เบื้องต้นได้กำหนดทิศทางการทำงานตามนโยบายของ คสช. ไว้ 4 นโยบาย ดังนี้ 1. การปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อสร้างคนไทยในศตวรรษที่ 21 ให้มีคุณลักษณะตามที่ต้องการ โดยเฉพาะมีความรักชาติและสามัคคี ซึ่งถ้าแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ก็คือ การแยกวิชาประวัติศาสตร์และวิชาหน้าที่พลเมือง ที่ขณะนี้ สพฐ. กำลังอยู่ระหว่างเร่งการดำเนินการปรับปรุงการเรียนการสอน 2. การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เนื่องจากขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียนมาเป็นการจัดทำห้องเรียนอัจฉริยะ หรือห้องเรียนสมาร์ทคลาสรูม เพื่อให้นักเรียนทุกชั้นปีได้มีโอกาสเข้าไปใช้งานแทน โดยขณะนี้ สพฐ. กำลังเสนอเรื่องไปยังสำนักงบประมาณเพื่อขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2556 - 2557 มาใช้ในการจัดทำห้องสมาร์ทคลาสรูม เบื้องต้นจะได้ประมาณ 15,000 - 18,000 ห้องเรียน รวมทั้งขอเปลี่ยนชื่อโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ขณะเดียวกัน สพฐ. ได้จัดทำรายละเอียดของโครงการดังกล่าวส่งให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ของ คสช .แล้วเร็วๆ นี้ คงจะได้มีการหารือและขอความเห็นชอบต่อไป

“นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้หารือจะสานต่อโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวล ให้สมบูรณ์ 100% ปัจจุบันมีการติดตั้งจานดาวเทียมและชุดรับสัญญาณให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในสังกัด สพฐ. แล้วเพื่อรับชมรายการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่ถ่ายทอดจากโรงเรียนวังไกลกังวล เหลือโรงเรียนอีกจำนวนไม่มากที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์การรับสัญญาณ ซึ่ง สพฐ. จะเร่งติดตั้งให้ครบทุกโรงเรียนและในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 สพฐ. จะประกาศว่า จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมได้ครบทั่วประเทศ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พระองค์ท่านทรงสบายพระทัยว่าโครงการในพระราชดำริของพระองค์ที่ทรงทำมานานได้กระจายไปสู่นักเรียนได้ทั่วถึง ซึ่งเมื่อทำสำเร็จเท่ากับว่านักเรียนทุกคนนจะมีโอกาสได้สัมผัสเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นห้องสมาร์ทคลาสรูม ห้องคอมพิวเตอร์และการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

นายกมล กล่าวต่อว่า นโยบายที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพการศึกษา เพราะปัจจุบันความเหลื่อมล้ำในเชิงปริมาณค่อนข้างบรรเทาลง เพราะว่าเด็กส่วนใหญ่ได้มีโอกาสเข้าเรียนและมีทุนการศึกษารูปแบบต่างๆ ให้เด็กด้วยแต่ยังมีความล้ำเชิงคุณภาพการศึกษาอยู่ โดยเฉพาะโรงเรียนในเมืองและพื้นที่ห่างไกล เพราะฉะนั้นภารกิจหลักของ สพฐ. คือ การยกระดับโรงเรียนให้เท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาอ่านออกเขียนได้ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ และการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ โดยเฉพาะการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net และ 4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการในด้านต่างๆ อาทิ การปรับปรุงระบบค่าใช้จ่ายรายหัว ทั้งนี้ การสนองนโยบายทั้ง 4 ข้อของ คสช. เป็นภารกิจเฉพาะหน้าแต่ภารกิจระยะยาวของ สพฐ. คือ การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมากำหนดพิมพ์เขียวการศึกษาชาติ และ สพฐ. จะตั้งกรรมการของ สพฐ. ขึ้นมาทำงานล้อกับคณะกรรมการชุดดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในส่วนการมอบหมายงานจาก นายอภิชาติ จีระวุฒิ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขาธิการ กพฐ. นั้นได้ฝากงานให้สานต่อใน 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตามกรอบแนวทางที่ สพฐ. วางไว้ 2. ให้ระมัดระวังเรื่องการจัดสอบบรรรจุข้าราชการครูเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ เพราะ สพฐ. เป็นองค์กรใหญ่เมื่อมีการจัดสอบอะไรจะกระทบกับคนจำนวนมาก
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:47:15


ความคิดเห็นที่ 7 (3670681)
กสทช.เผยเคเบิล-ดาวเทียม กลับมาออกอากาศแล้ว 497 ช่อง
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ วันนี้ (30 มิ.ย.) มีมติเห็นชอบให้ 80 ช่องรายการโทรทัศน์เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมที่กลับมาออกอากาศได้เพิ่มเติม หลังปรับเปลี่ยนเป็นช่องโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก รวมมีช่องรายการโทรทัศน์เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมออกอากาศได้ตามปกติรวม 497 ช่องรายการ และอยู่ระหว่างพิจารณาเนื้อหาช่องรายการเพื่อรอการอนุญาตออกอากาศเพิ่มเติมอีก 30 ช่องรายการ
ส่วนการพิจารณาให้สถานีวิทยุชุมชนกว่า 4,000 สถานีกลับมาออกอากาศ อยู่ระหว่างรอคำสั่งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุญาตให้สถานีวิทยุกลับมาออกอากาศได้ ภายใต้เงื่อนไขที่สำนักงานกสทช.นำเสนอ ด้วยการกำหนดกำลังส่ง เนื้อหาที่ออกอากาศ และเป็นเจ้าของสถานีวิทยุได้เพียง 1 สถานี หาก คสช.มีคำสั่งอนุญาตให้ออกอากาศ สถานีวิทยุที่ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขก็สามารถออกอากาศได้ทันที โดยขณะนี้ กสทช.ได้เปิดให้ผู้ประกอบการสถานีวิทยุนำเครื่องวิทยุไปตรวจสอบมาตรฐานได้ที่สำนักงาน 22 แห่งทั่วประเทศ
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:48:40


ความคิดเห็นที่ 8 (3670684)
กสทช. ยันดูบอลโลกสดทางฟรีทีวีได้จนรอบชิง

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) กสทช.ชี้อาร์เอสอ้างฟีฟ่าหยุดเสาร์ - อาทิตย์ส่งผลฟรีทีวีจอดำบอลโลก2014 จำนวน 2นัด ยันคู่ที่เหลือถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีช่อง 5,11หรือไทยพีบีเอส ด้านบอร์ดกสท.มีมติไฟเขียวช่องดาวเทียมและเคเบิลทีวี 74 ช่องรายการ ส่วนช่องเอเอสทีวียังไร้วี่แววเข้าบอร์ดกสท.

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่ากรณีบริษัท อาร์ เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเมนท์ จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2014ไม่ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบ 16 ทีมสุดท้าย คู่บราซิลกับชีลี เมื่อเสาร์ที่ 28 มิ.ย.และคู่ฮอลแลนด์กับแมกซิโก
วันอาทิตย์ที่ 29 มิ.ย.2557ผ่านทางฟรีทีวีนั้น ล่าสุดอาร์เอส ชี้แจ้งว่าสาเหตุที่ไม่สามารถถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 5 ได้เนื่องจากไม่ได้อยู่ในผังรายการที่ตกลงกันไว้จำนวน 38 นัดกับทางอาร์เอส จากนั้นทางอาร์เอสจึงขอทำหนังสือขออนุญาตถ่ายฟุตบอลโลก2014 นัดที่เหลือผ่านฟรีทีวีสาธารณะไปยังฟีฟ่าเพื่อให้สามารถออกอากาศผ่านทาง ช่อง11หรือช่อง 5 หรือไทยพีบีเอส
ซึ่งทางอาร์เอสอ้างว่าในวันดังกล่าวฟีฟ่าปิดทำการจึงส่งหนังสือตอบกลับมายัง อาร์เอสล่าช้าโดยเพิ่งส่งมาถึงเมื่อเช้าวันที่ 30 มิ.ย.2557 นี้ส่งผลทำให้เกิดการจอดำฟุตบอลโลก 2014 ไป 2 คู่ที่ดูผ่านฟรีทีวี แต่กลับไปถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 8 ซึ่งเป็นทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจแทน

ทั้งนี้จากกรณีดังกล่าวสำนักงานกสทช.จะส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการสนับสนุนให้ประชาชนได้รับชมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี 2014 พิจารณาในประเด็นความเหมาะสมของกรอบวงเงินในการสนับสนุนเงินแก่บริษัทอาร์เอสต่อไปซึ่งมีกรอบวงเงินไม่เกินมูลค่า 427 ล้านบาท

"กสทช.ขอยืนยันว่าฟุตบอลโลก 2014 คู่ที่เหลือประชาชนจะสามารถรับชมได้อย่างแน่นอนผ่านทางฟรีทีวีช่อง 11 หรือช่อง 5 หรือไทยพีบีเอสโดยคืนนี้จะเริ่มคู่แรกระหว่างไนจีเรียกับฝรั่งเศสถ่ายทอดสด ผ่านช่อง11"

นอกจากนี้ในวันพุธที่ 2 ก.ค.2557 สำนักงานกสทช.จะเข้าหารือกับทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อรายงานเหตุผลความจำเป็นเกี่ยวกับการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz กับ900 MHz และโครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) หลังจากคสช. ได้มีคำสั่งให้ชะลอการประมูลออกไป โดยสำนักงานกสทช.จะเข้าไปชี้แจงรายละเอียดทุกอย่าง
เพื่อหวังให้คสช.อนุญาตให้ดำเนินโครงการต่อไปได้เช่นเดียวกับอนุญาตให้ กสทช.ดำเนินการแจกคูปองตามโครงการสนับสนุนประชาชน ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลไปแล้ว

ด้านพ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.วันที่ 30 มิ.ย. มีมติอนุญาตให้ช่องรายการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีจำนวน 74 ช่องรายการกลับมาออกอากาศอีกครั้งรวมล่าสุดมีการอนุญาตให้ช่องรายการกลับมา ออกอากาศได้อีกครั้งแล้ว 497 ช่องรายการ ส่วนอีกราว 30
ช่องรายการยังคงติดปัญหาต่างๆ อาทิ การส่งให้ทางคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พิจารณาและติดปัญหาเรื่องอย. รวมไปถึงคณะอนุกรรมการด้านเนื้อหาซึ่งช่องทั้งหมดที่ติดปัญหาอยู่คาดว่าจะเข้าบอร์ดกสท.พิจารณาอีกครั้งในสัปดาห์หน้าต่อไป

ส่วนความคืบหน้าสถานีวิทยุชุมชนจำนวน 377 สถานีที่กำลังจะถูกปลดล็อกหรือกลับมาออกอากาศได้นั้นล่าสุดในวันนี้สำนักงานกสทช.จะเข้าหารือในเรื่องดังกล่าวอีกครั้งกับคสช.เพื่อให้ประกาศเกณฑ์เงื่อนไขในการที่จะออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชน โดยมีรายละเอียด คือ 1.ต้องเป็นสถานีที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง 2.
จะต้องผ่านการตรวจเครื่องส่ง สายอากาศ ให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. กำหนด คือ กำลังส่งไม่เกิน 500 วัตต์ ความสูงเสาไม่เกิน 60 เมตร และเมื่อออกอากาศแล้ว จะต้องมีรัศมีการให้บริการไม่เกิน 20 กิโลเมตร 3. หนึ่งนิติบุคคล ต่อหนึ่งใบอนุญาต 4. เนื้อหาในการออกอากาศจะต้องสอดคล้องกับประกาศของ คสช. 5.จะต้องมาทำ MOU ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมดกับทางสำนักงาน กสทช.

บอร์ดกสท.ยังมีมติพิจารณาสั่งปรับเงินช่อง 3 จำนวน 500,000 บาทจากกรณีเผยแพร่รายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ซีซัน 3 เทปเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา กับการแสดงของหนึ่งในผู้เข้าประกวดที่ชื่อ สิทธัตถะ เอมเมอรัล กระทั่งกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งมีมติสั่งปรับเงินจำนวน 50,000 บาทกับทางช่องรายการซีทีเอช ช่องรายการทีโอที
และจีเอ็มเอ็ม ในกรณีนำละครชุดจากอเมริกาที่มีชื่อ DEXTER มาออกอากาศเนื่องจากรายการดังกล่าวมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับการนำมาฉายในประเทศไทย

พ.อ.นที กล่าวว่าส่วนความคืบหน้าแผนการวางโครงข่ายเพื่อรับชมทีวีดิจิตอลในเฟส แรกนั้นล่าสุดมีการครอบคลุมพื้นที่ไปแล้ว 11 จังหวัด หรือคิดเป็น 50% ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เชียงใหม่ สงขลา อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ระยอง สิงห์บุรี สุโขทัย ขอนแก่น และอุดรธานี

อย่างไรก็ตามในประเด็นสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมที่ถูกระงับการออกอากาศจำนวน 14 ช่องรายการ อาทิ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเอสทีวี สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบลูสกาย สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มวี 5 และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีแอนด์พี ตามประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 15 ล่าสุดแม้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่องเอเอสทีวี
ยื่นเอกสารขอปรับผังรายการใหม่แล้วก็ตาม แต่ในที่ประชุมยังไม่ได้นำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุมแต่อย่างใดเช่นเดิม ส่วนก่อนหน้านี้ 2 ช่องรายการที่ได้ถูกปลดล็อกจากการระงับการออกอากาศตามคำสั่ง คสช.คือ สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (VOICE TV) และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:49:50


ความคิดเห็นที่ 9 (3670687)

สพฐ.เพิ่มทางไกลผ่านดาวเทียม

      ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) คนใหม่ เปิดเผยถึงทิศทางการทำงานหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กพฐ. ว่า งานเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการตามภารกิจที่ คสช.มอบหมายคือ การปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อสร้างคนไทยในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะเรื่องความรักชาติและสามัคคี โดยจะแยกวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ซึ่งขณะนี้ได้เปลี่ยนแปลงโครงการแจกแท็บเล็ตมาเป็นสมาร์ทคลาสรูม และกำลังทำเรื่องไปยังสำนักงบประมาณขอเปลี่ยนแปลงงบ ประมาณปี 2556-2557 มาใช้ เบื้องต้นคาดว่าจะได้ 15,000-18,000 ห้องเรียน รวมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยได้ส่งรายละเอียดให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยา เพื่อนำเสนอ คสช.ให้ความเห็นชอบแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:52:04


ความคิดเห็นที่ 10 (3670689)
กสท.ปล่อยผีคืนจอทีวีดาวเทียม72ช่อง ประเดิมปรับหนักเนื้อหารายการซาดิสต์ (ชมคลิป)
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้ช่องรายการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี สามารถออกอากาศได้เพิ่มเติมอีก 72 ช่อง ส่งผลให้ช่องรายการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี ที่สามารถออกอากาศได้ทั้งหมด 497 ช่อง ส่วนที่เหลืออีก 30 ช่อง ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการเนื้อหาและคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คาดว่าสัปดาห์หน้าจะนำเสนอบอร์ด กสท.พิจารณาอนุมัติได้ ส่วนอีก 14 ช่อง ที่ถูกปิดตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้น ก็อยู่ในกระบวนการ ซึ่งต้องรอคำสั่ง คสช.เท่านั้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังยืนยันสั่งปรับสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 กรณีรายการไทยแลนด์ ก็อตทาเลนต์ ตอนสิทธัตถะ มูลค่า 500,000 บาท และสั่งปรับบริษัท ซีทีเอช จำกัด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ที่ออกอากาศรายการซีรีส์เด็กซ์เตอร์ เพราะมีเนื้อหารุนแรง สั่งปรับรายละ 50,000 บาท โดยกรณีนี้ที่ประชุมได้หารือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นซีรีส์ต่างประเทศ เป็นลิขสิทธิ์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นผู้ที่จะนำเรื่องดังกล่าวมาฉายต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ หากเนื้อหาไม่เหมาะสม ก็ไม่ควรซื้อลิขสิทธิ์ และควรนำเรื่องที่เหมาะสมมาเผยแพร่ในประเทศ
“การอนุญาตให้ช่องรายการทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีต่างๆ กลับมาออกอากาศอีกครั้ง กสทช.ได้ระบุเงื่อนไขไว้ชัดเจนว่าแต่ละรายดำเนินการอย่างไรและต้องปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาต เช่น มีการโฆษณาสินค้าไม่ผ่านกฎหมายอาหารและยา มีคำสั่งทางปกครอง เป็นต้น ซึ่งแต่ละรายจะรับทราบอนุญาตของตัวเองว่าต้องปรับปรุงอย่างไร และต่อไปนี้หากมีเนื้อหาไม่เหมาะสมผู้ให้บริการโครงข่ายจะต้องร่วมรับผิดชอบและจ่ายค่าปรับด้วย เพื่อสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน”
 
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:54:12


ความคิดเห็นที่ 11 (3670694)
ไทยคมพร้อมออนแอร์ทีวีดิจิตอล HD

นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม “ไทยคม” พร้อมเปิดบริการถ่ายทอดสัญญาณคมชัดสูงให้แก่ช่องทีวีดิจิตอล HD สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลไทย ให้ประชาชนรับชมช่องดิจิตอลทีวี HD ผ่านระบบดาวเทียมได้เพิ่มเติม

นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม เปิดเผยว่า ไทยคม ในฐานะผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของไทย เตรียมพร้อมออกอากาศช่องรายการทีวีดิจิตอล HD ผ่านดาวเทียมไทยคม เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย ให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถรับชมรายการทีวีดิจิตอล HD ในระบบความคมชัดสูงได้เพิ่มเติม

ไทยคม เตรียมพร้อมที่จะนำช่องรายการทีวีดิจิตอล HD ออกอากาศผ่านดาวเทียม เพื่อให้ประชาชนที่มีชุดรับสัญญาณดาวเทียมแบบ HD สามารถรับชมช่องรายการทีวีดิจิตอล HD ในระบบความคมชัดสูงได้ทั่วประเทศ โดยเฟสแรกสามารถจะเปิดให้บริการในระบบ C-band ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และกำลังดำเนินการจัดสรรช่องสัญญาณเพื่อเปิดให้บริการในระบบ Ku-band ในเฟสต่อไป โดยขณะนี้ ไทยคม กำลังประสานงานกับช่องรายการทีวีดิจิตอล HD ที่มีความสนใจจะออกอากาศเพิ่มเติมในระบบความคมชัดสูง เพื่อนำช่องรายการมาออกอากาศผ่านดาวเทียมไทยคม

การออกอากาศระบบ HD ในครั้งนี้ จะทำให้ประชาชนผู้รับชมทั่วประเทศที่มีชุดรับสัญญาณดาวเทียมที่รองรับระบบ HD (กล่องรับสัญญาณแบบ DBV-S2-HD) จะสามารถรับชมทั้งช่องรายการทีวีดิจิตอลความคมชัดสูง (HD) ช่องรายการทีวีดิจิตอลความคมชัดมาตรฐาน (SD) และช่องรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอีกนับร้อยช่อง ทำให้แพลตฟอร์มดาวเทียม เป็นแพลตฟอร์มโทรทัศน์ที่มีช่องรายการหลากหลาย มีระดับคุณภาพความคมชัดทุกระบบ และสามารถรับชมได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศได้ทันทีผ่านจานดาวเทียม

“การเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย การเกิดขึ้นของช่องทีวีดิจิตอลทำให้มีช่องรายการคุณภาพ ที่จะนำสาระ และความบันเทิงไปยังประชาชนเพิ่มเติม รวมทั้งช่องรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอีกจำนวนมาก ซึ่งไทยคมถือเป็นหน้าที่ที่จะนำช่องรายการต่างๆ ไปยังทุกพื้นที่ทั่วประเทศผ่านดาวเทียมไทยคม เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้รับชมให้ดีที่สุด”
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:57:56


ความคิดเห็นที่ 12 (3670696)
เลขา สพฐ.ลงพื้นที่กระบี่มอบนโยบายเร่งด่วนตามนโยบาย คสช.

กระบี่ - เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจเยี่ยมโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล และมอบนโยบายเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ระยะเร่งด่วน 3 เดือน ตามนโยบาย คสช.พร้อมพัฒนาโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อถวายเป็นราชสักการะให้กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ.ได้เข้าตรวจเยี่ยมคณะผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 และคณะครู นักเรียนโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล พร้อมพูดคุยกับนางสาวกมลวรรณ สาระวารี นักเรียนโรงเรียนอำมาตย์พานิชกูล ที่สอบได้ผลคะแนน O-NET เป็นอันดับ 5 ประเทศ และได้ที่ 1 ในการสอบเข้าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จำนวน 85.14% เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ จากนั้นมอบนโยบายการจัดการศึกษาให้กับผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

นายกมล กล่าวว่า จากการเข้ารับตำแหน่งใหม่ จะสานต่องานของ สพฐ.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ แผนงานที่ สพฐ.จะดำเนินการในระยะเร่งด่วน 3 เดือน ตามนโยบายของ คสช.ได้แก่ การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อสร้างคนไทยในศตวรรษที่ 21 การใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษา การยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเชิงคุณภาพ และการพัฒนาระบบบริหารจัดการส่วนโรงเรียน 4 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 การจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปวัฒนธรรมไทย เรื่องที่ 2 การพัฒนาโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อถวายเป็นราชสักการะ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ได้เต็ม 100% เพื่อใช้ในการพัฒนาการศึกษา 

เรื่องที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ เน้นเด็กต้องอ่านออกเขียนได้ ภาษาอังกฤษต้องคล่องแคล้วเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน คะแนน O-NET PISA ต้องเพิ่มขึ้น นักเรียนมีความซื่อสัตย์ สุจริต กล้าหาญ กล้าแสดงออก และเรื่องที่ 4 ปรับระบบบริหารจัดการของ สพฐ ให้มีประโยชน์ ประหยัด มีประสิทธิภาพสูง เพราะ สพฐ.เป็นหน่วยงานใหญ่มีโรงเรียนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษมาก ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเยอะมาก งบประมาณมีน้อย ซึ่งหากทำได้ทำได้นโยบายก็จะพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้มีคุณภาพมากขึ้น
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 08:59:10


ความคิดเห็นที่ 13 (3670699)
  “ดร.นิพนธ์” เผย 3 เรื่องเร่งสางด่วน หลังนั่งนายกสมาคมทีวีดาวเทียมอีกสมัย (ชมคลิป) 
 
 

“ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ” (ซ้าย) นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) 
 
" นิพนธ์ นาคสมภพ” รั้งเก้าอี้นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมอีกสมัย ลั่นต้องสานต่อสิ่งที่ทำมาตลอด 5 ปี ชูธงแก้ พ.ร.บ.ให้มีนิยามทีวีแค่ 2 แบบ คือ บอกรับสมาชิก และไม่บอกรับสมาชิก
       
       
 วันนี้ (14 ก.ค.) สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) หรือ STAT ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 ขึ้น โดยมีวาระการประชุมที่สำคัญคือ การเลือกตั้งนายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) คนใหม่ เพื่อดำรงตำแหน่งในปี 2557-2559 โดยมี นายวรินทร์ เทียมจรัส เป็นประธานกรรมการการเลือกตั้งนายกสมาคมฯ ครั้งนี้
       
       ในที่ประชุมพบว่ามีผู้ยื่นสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ เพียงรายเดียวคือ ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ ซึ่งก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ มาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน และในที่ประชุมไม่มีผู้ใดคัดค้าน ส่งผลให้ ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ เป็นนายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) อีกครั้ง
       
       ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ ในฐานะนายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) คนใหม่ เปิดเผยว่า วิสัยทัศน์ที่สำคัญและต้องเร่งสานต่อให้เร็วที่สุดมีอยู่ 3 เรื่องหลัก คือ 1. การแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งโทรทัศน์ดาวเทียมถูกตีความให้มีสิทธิและหน้าที่เท่ากับเคเบิลทีวี ทั้งๆ ที่ทีวีดาวเทียมส่วนใหญ่เป็นฟรีทีวี ซึ่งทางสมาคมฯ ต้องการให้มีการแก้ไขนิยามจาก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวให้มีแค่ 2 แบบ คือ แบบบอกรับสมาชิก และไม่บอกรับสมาชิก โดยต้องการให้มีการแก้ไขในช่วงที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่าช่วงสถานการณ์ปกติ
       
       2. กองทุน 2% เทียบกับรายได้ทั้งปี ในการนำเม็ดเงินดังกล่าวเข้ากองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่จัดทำขึ้นในการนำเงินในกองทุนนี้กลับคืนมาเยียวยาให้บางช่องรายการที่จอดำไปจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก
       
       ทั้งนี้ ได้มีการประสานงานกับ กสทช.แล้วในการนำเงินในกองทุนบางส่วนมากำกับดูแลกันเอง ซึ่ง กสทช.ได้ให้สมาคมฯ ร่างโครงการขึ้นไปก่อน โดย กสทช.อนุมัติเงินกว่า 10 ล้านบาทจากกองทุน 2% แล้ว แต่ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนทบทวนร่างโครงการขึ้นไปใหม่อีกครั้ง
       
       3. การกำกับดูแลตัวเองในการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องการโฆษณาและจริยธรรมในการประกอบกิจการ
       
       “ผมไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ต้องมีเสาหลักร่วมเดินต่อไปด้วยกันและขอขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งนี้อีกครั้ง โดยจะขอทำงานนี้ต่อไปอีก 2 ปี เพราะอีก 2 ปีข้างหน้าผมจะมีอายุครบ 70 ปีแล้ว โดยจะทำงานอย่างเต็มที่ให้เห็นผลงานอย่างชัดเจน หลังจากพบว่า 5 ปีที่ผ่านมาการดำเนินงานต่างๆ ดูจะไม่เกิดผลจากการที่โทรทัศน์ดาวเทียมถูกจัดเป็นแบบบอกรับสมาชิกทั้งๆ ที่แพร่ภาพแบบฟรีทีวี ซึ่งขัดกับตัวเอง จึงต้องการสานต่อให้จบ โดยเฉพาะวาระสำคัญเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551”
       
       อย่างไรก็ตาม 5 ปีที่ผ่านมางานของ สมาคมฯ ไม่ค่อยเดินหน้ามากนัก เนื่องจากการขาดบุคลากรภายในองค์กรและการสนับสนุนจากสมาชิก จึงเห็นว่าการประชุมกลุ่มย่อยต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมให้มากกว่านี้ งานของสมาคมฯ จึงจะเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       
       อนึ่ง ปัจจุบันสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประทศไทย) มีจำนวนสมาชิกรวม 84 ช่องรายการ และ 5 บริษัท แบ่งเป็นสมาชิกสามัญ 84 ช่องรายการ และสมาชิกวิสามัญ 5 บริษัท โดยในการประชุมครั้งนี้มีช่องรายการต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มอีกกว่า 20-30 ช่อง ขณะที่ตัวเลขสมาชิกที่ยังไม่สามารถแพร่ภาพได้ยังมีอยู่อีก 10 กว่าช่อง ซึ่งทางสมาคมฯ จะหาทางแก้ไขต่อไป
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2014-07-16 09:03:02



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.