ReadyPlanet.com


อาการสัญญาณความถี่ดาวเทียมถูกรบกวน


เทคนิคการติดตั้งจานดาวเทียม และอาการสัญญาณความถี่ดาวเทียมถูกรบกวน

สวัสดีชาว IPM ทุกๆท่านช่วงนี้พี่น้องบางท่านอาจพบกับปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมจนอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาผมต้องขอเอาใจช่วย และขอให้อุทกภัยครั้งนี้ผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็วที่สุดพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยจะได้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ส่วนตัวผมก็คงเนินการให้ข้อมูลด้านเทคนิคต่างๆกับท่านอย่างต่อเนื่องและคอลัมน์ฉบับนี้ผมก็จะมาให้ข้อมูลเรื่อง อาการสัญญาณความถี่ดาวเทียมถูกรบกวน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้น่าจะช่วยท่านได้เป็นอย่าง มาก ท่านจะได้รับรู้ถึงการตรวจสอบ รวมทั้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เกิดปัญหาเพื่อการดำเนินในแต่ละวันที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลาเพื่อรองรับลูกค้าที่มีจำนวนมากเราไปพบกับข้อมูลต่างๆกันเลยครับ

1.อาการสัญญาณความถี่ดาวเทียมถูกคลื่นความความถี่ Microwave และWIMAX รบกวน
อาการสัญญาณภาพถูกรบกวนเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อย่างเช่นสัญญาณย่านความถี่ดาวเทียมบางความถี่ถูกคลื่นความถี่ใกล้เคียงรบกวน อาจเกิดขึ้นได้จากคลื่นความถี่ Microwave สื่อสาร ซึ่งมีย่านความถี่ที่ใช้งานภายในประเทศตั้งแต่ความถี่ 2-4 GHz และ 15-18 GHz นอกจากนี้ยังมีย่านความถี่ของ WIMX ในช่วงความถี่ที่ใช้งานตั้งแต่ความถี่ 2.3 – 3.7 GHz ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับย่านความถี่ดาวเทียมที่มีความถี่ตั้งแต่ 3.4 – 4.2 GHz การกวนของสัญญาณและผลกระทบจะแตกต่างกันไปถ้าเป็นการรบกวนของคลื่นความถี่ Microwave ก็มีวงจำกัดในการรบกวนหรือรบกวน หรือรบกวนเป็นบางพื้นที่เนื่องจากการรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่ Microwave เป็นการรับส่งสัญญาณบางภาคพื้นดิน และกำลังส่งของคลื่น Microwave ที่มีกำลังส่งต่ำจึงทำให้ พื้นที่ที่ถูกรบกวน อยู่ในรัศมีไม่เกิน 5  กิโลเมตร หรือ อยู่ในทิศทางการการรับส่งสัญญาณ ของคลื่นความถี่  Microwave ซึ่งการรบกวนของสัญญาณความถี่ Microwave จะทำให้เกิดการรับชมสัญญาณภาพผ่านเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจะเกิดภาพมาๆหายๆ เมื่อตรวจสอบเช็คระดับคุณภาพของสัญญาณจะเห็นได้ว่าระดับคุณภาพของสัญญาณจะ ขึ้นเร็ว ลงเร็ว นี้คืออาการคลื่นความถี่ดาวเทียมถูกรบกวน
 
ส่วนการรบกวนของคลื่นความถี่ WIMAX ก็ไม่แตกต่างกัน แต่ช่วงความถี่ของ WIMAX และช่วงความถี่ของดาวเทียมจะทับกันที่ช่วงความถี่ระหว่าง 3.4 และ 3.7 GHz ทำให้กินพื้นที่ของความถี่ดาวเทียมค่อนข้างมาก จึงทำให้ช่วงความถี่ของดาวเทียมที่ส่งช่องรายการออกอากาศในความถี่ที่ตรงกับคลื่นความถี่ WIMAX   จะไม่สามารถรับช่องรายการทีวีได้ทั้งหมด และเมื่อตรวจสอบเช็คระดับสัญญาณคุณภาพของเครื่องรับ สัญญาณทีวีผ่านดาวเทียม จะเห็นได้ว่าระดับคุณภาพจะไม่ปรากฏซึ่งสาเหตุแบบนี้ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ไม่สามารถตรวจเช็คได้ด้วยเครื่องวัดสัญญาณความถี่ที่มีชื่อ เรียกว่า ( spectrum Analyzer) สามารถวัดสัญญาณความถี่ในพื้นที่ที่เกิดปัญหาได้และยังสามารถวัดสัญญาณความถี่ได้ตั้งแต่ 9 KHz – 2.9 GHz

2. วิธีการตรวจสอบสัญญาณความถี่ดาวเทียม
  เครื่องวัดสัญญาณความถี่  ( spectrum Analyzer ) มีบทบาทสำคัญต่อการใช้ค้นหาสัญญาณความถี่ที่รบกวนได้อย่างดี เพียงทดสบเบื้องต้นโดยการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากจานดาวเทียมต่อเข้ากับ  ( spectrum Analyzer)  และส่ายหน้าจานรอบ 360 องศา เพื่อค้นหาสัญญาณความถี่ที่แปลกปลอมเมื่อพบสัญญาณความถี่จะมีกราฟแสดงลูกคลื่นให้เห็น เลือกตำแหน่ง Marker ไปตำแหน่งลุกคลื่นของความถี่ Span ให้กว้างขึ้นก็จะทราบได้ว่าลูกคลื่นของความถี่นั้นอยู่ในช่วงของความถี่เท่าไหร่ เท่านี้เราก็จะทราบข้อมูลเบื้องต้นได้ว่ามีคลื่นความถี่ใดบ้างในจำนวนรอบวงกลม 360 องศา ทดลองหันหน้าจานมาตำแหน่งที่ต้องการรับดาวเทียม ปรับหน้าจานให้รับกับตำแหน่งดาวเทียมดวงนั้นแล้วให้ลองเลือก Marker ได้ตำแหน่งลูกคลื่นของดาวเทียม Span ให้กว้างขึ้น สังเกตดูว่าในลูกคลื่นความถี่นั้นมีลูกคลื่นที่แปลกปลอมมาซ้อนกับลูกคลื่นของความถี่ดาวเทียมหรือไม่ ถ้าไม่มีลูกคลื่นซ้อนก็แสดงว่าลูกคลื่นลูกนั้นไม่ถูกสัญญาณรบกวน แต่ถ้ามีลูกคลื่นซ้อนก็แสดงว่าลูกคลื่นความถี่ของดาวเทียมลูกนั้นสัญญาณรบกวนก็จะเกิดระดับอาการระดับคุณภาพไม่ขึ้นรับชมภาพไม่ได้ การที่ได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้วสิ่งที่ต้องการทำต่อคือการแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อตรวจสอบว่าความถี่ที่ตรวจพบว่าได้ขออณุญาตใช้ความถี่อย่างถูกต้องหรือไม่เพื่อทางที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไป
  
   การที่มีสัญญาณความถี่ แปลกปลอมขึ้นมีได้หลายกรณีเป็นไปได้ด้วยการทดลองใช้สัญญาณความถี่ที่ใช้กับงานสื่อสารต่างๆ หรือการที่มีความถี่ใช้งานในปัจจุบันใช้งานกับความถี่ใหม่ที่เกิดขึ้นกลายเป็นทั้งสองคลื่นสัญญาณรวมกันจนกำเนิดความถี่ใหม่ขึ้น และเป็นความถี่ที่ตรงกันกับความถี่ของดาวเทียมจึงเกิดสัญญาณรบกวนขึ้นนั่นเอง
  
   เป็นอย่างไรบ้างครับกับข้อมูลที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่ อยู่ที่ว่าเราจะสามารถรู้ได้อย่างไรและจะแก้ไขได้อย่างไร เมื่อเรารู้เราก็สามารถตรวจเช็คเพื่อหาข้อมูลที่ตอบโจทย์ได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ทุกท่าน ทำงานได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้นนะครับ สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณพี่น้องทุกท่านที่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตลอดและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอีกไม่นานพี่น้องทุกท่านก็คงเป็นเสี่ยหรือเจ้าสัวกันทั้งหมดกันแล้วครับ ผมก็คงต้องขอจบเพียงเท่านี้แล้วพบกันต่อในฉบับหน้า  สวัสดีครับ ...

 



ผู้ตั้งกระทู้ ข้อจากนิตยสาร IPM :: วันที่ลงประกาศ 2011-12-26 06:40:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3311991)

 ดีมากคับ

ผู้แสดงความคิดเห็น 001 วันที่ตอบ 2013-07-10 21:02:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.