ReadyPlanet.com


ต้องการส่งงานระบบ สำหรับบ้านพักประมาณ 15ห้อง ควรเลือกการติดตั้งแบบไหนดีกว่ากัน?


มีบ้านพักที่ชะอำ อยู่ประมาณ 15ห้อง และในอนาคต นั้นจะทำห้องเพิ่มอีก7ห้อง อยากทราบว่าการติดตั้งจานดาวเทียมนั้น ควรติดตั้งจานแบบไหนดีครับ?
รายละเอียดที่ได้ทราบข้อมูลมาบ้างแล้วจากร้านติดตั้งจานดาวเทียมที่เพชรบุรีคือ
1.ติดตั้งแบบทั้วไป คือคล้ายกับอาพาร์ทเมนท์ทั่วไป ซึ่งช่องจะมีประมาณ 20ช่อง
2.ติดตั้งจานดาวเทียมแบบที่สามารถนำเครื่องรีซีฟเวอร์ไปติดตามห้องได้เลย ( ข้อมูลที่ทราบมาคือ ช่องทุกช่องจะชัดและเวลาเครื่องเสียนั้นจะสามารถเปลี่ยนเครื่องรับดาวเทียมตามจุดที่เสียได้เลย )
3.อยากทราบเรื่องราคาและอุปกรณ์ สำหรับงานติดตั้งทั้ง2แบบ
ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ บ้านพักชะอำ :: วันที่ลงประกาศ 2012-01-10 04:40:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3273694)

ตอบคำถามจานดาวเทียม วันที่ 18 มกราคา 2012
มีบ้านพักที่ชะอำ อยู่ประมาณ 15ห้อง และในอนาคต นั้นจะทำห้องเพิ่มอีก7ห้อง อยากทราบว่าการติดตั้งจานดาวเทียมนั้น ควรติดตั้งจานแบบไหนดีครับ?
รายละเอียดที่ได้ทราบข้อมูลมาบ้างแล้วจากร้านติดตั้งจานดาวเทียมที่เพชรบุรีคือ

ถาม: 1.ติดตั้งแบบทั้วไป คือคล้ายกับอาพาร์ทเมนท์ทั่วไป ซึ่งช่องจะมีประมาณ 20ช่อง
ตอบ: การติดตั้งงานระบบจานดาวเทียมสำหรับห้อพักที่มีจำนวนห้องไม่มากนั้นท่านลูกค้าสามารถที่จะเลือกติดตั้งได้2แบบคือ
        1.งานระบบ SMATV ทั้วไปการติดตั้งคล้ายกับอาพาร์ทเมนท์ ทั่วไป เช่นถ้าต้องการติดตั้งเพื่อรับชม20ช่องก็จะต้องใช้รีซีฟเวอร์ 20ตัวการติดตั้งงานลักษณะนี้ท่านสามารถมีจุดรับชมได้ไม่จำกัด โดยทั่วไปสามารถมีจุดรับชมได้ถึง50-200จุด
          
อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งงานระบบ SMATVสำหรับรับชมช่องประมาณ 20มีดังนี้
               1.จานดาวเทียมระบบ C-BAND ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7ฟุต
               2.LNB C-BAND แบบ 2o/p ความถี่   05150 MHz
               3.splitter แบบ Power pass ชนิด 2ทาง 1ตัว , ชนิด 8ทาง 2ตัว ( สำหรับแยกช่องที่ส่งมาทั้งแนว HOR และ แนว VER )
               4.รีซีฟเวอร์ยี่ห้อ ใดก็ได้ที่สามารถส่งสัญญาณ RF OUT ช่วงความถี่ S-BAND ( single side band ) ได้ จำนวน20ตัว ....... โดยส่วนมากช่างจะใช่รีซีฟเวอร์ DBY S-BANDหรือ PSI  S-BAND
               5.อุปกรณ์รวมสัญญาณช่องความถี่ S-BAND ที่สามารถรองรับสัญญาณ S-BAND INPUT ได้มากถึง 20ช่อง เป็นอย่างน้อย ( S-BAND COMBINER )
               6. S-BAND Amplifier ( ตัวขยายสัญญาณ S-BAND ควรเลือกใช้รุ่นที่มี GAIN ขยายสัญญาณ ประมาณ 40 dbv และ GAIN MAX อยู่ที่ประมาณ 120 dbv.

ข้อดีของการส่งสัญญาณดาวเทียมในระบบ SMATVคือ สามารถต่อจุดรับชมได้ไม่จำกัดจุด ( 100-300 จุด )
ข้อเสียของการส่งสัญญาณดาวเทียมในระบบ SMATVคือ ความคมชัดของภาพไม่สามารถสู้การติดตั้งเครื่องรีซีฟเวอร์ตามห้องได้โดยตรง และช่องก็ถูกจำกัดตามจำนวนรีซีฟเวอรืที่ติดตั้งในห้อง HEAD-END . ไม่สามารถจูนช่องรายการเพิ่มได้


ถาม:2.ติดตั้งจานดาวเทียมแบบที่สามารถนำเครื่องรีซีฟเวอร์ไปติดตามห้องได้เลย ( ข้อมูลที่ทราบมาคือ ช่องทุกช่องจะชัดและเวลาเครื่องเสียนั้นจะสามารถเปลี่ยนเครื่องรับดาวเทียมตามจุดที่เสียได้เลย )
ตอบ: การติดตั้งจานดาวเทียมสำหรับรับชม15จุดงานติดตั้ง ลักษณะนี้จะคล้ายงานติดตั้งตามบ้านทั่วไป แต่มีจุดรับชมมากถึง15จุด
        อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งงานระบบ SATELLITE TV สำหรับรับชม 15จุดมีดังนี้
               1.จานดาวเทียมระบบ C-BAND ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7ฟุต
               2.LNB C-BAND แบบ 2o/p ความถี่   05150 MHz
               3.Multi Switch ชนิดเข้า 4 input และ ออก 16 output สามารถรองรับจานดาวเทียมได้2ใบ
               4.รีซีฟเวอร์ รับสัญญาณ free2air ทั่วไป เช่นยี่ห้อ Dynasat , psi , infosat , dby , winsat , idea-sat , satthai

ข้อดีของการส่งสัญญาณดาวเทียมในระบบ satellite tv คือ สามารถจูนช่องรายการเข้ามาได้ไม่จำกัดช่อง ภาพที่ได้นั้นมีความคมชัดมากกว่าระบบอื่นๆ การดูแลซ่อมบำรุงนั้นทำได้ง่ายกว่า ( รีซีฟเวอร์เครื่องใดเสียก็สามารถเปลี่ยนเครื่องนั้นได้ทันที่โดยไม่ต้องรอช่าง ) , สามารถติดตั้งจานดาวเทียมเพิ่มได้
ข้อเสียของการส่งสัญญาณดาวเทียมในระบบ satellite tv คือ ไม่สามารถเพิ่มจุดรับชมได้ง่าย คือขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ Multi switch ว่ามีกี่ O/P ก็จะสามารถถ้าอุปกรณ์มัลติสวิสท์มี 16 o/p ก็จะสามารถติดตั้งเครื่องรีซีฟเวอร์ได้มากสุด16เครื่อง


ถาม:3.อยากทราบเรื่องราคาและอุปกรณ์ สำหรับงานติดตั้งทั้ง2แบบ
เรื่องราคาในการติดตั้งกรุณาโทรสอบถามที่ OFFICE นะครับ 02-4158042 , 02-4158043 , 02-4159392 .....

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2012-01-18 05:56:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.