ReadyPlanet.com


ข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์จานดาวเทียมจากนิตยสาร IPM


สายนำสัญญาณ(Coaxial Cable) สวัสดีครอบครัว IPM ทุกท่านครับ ฉบับนี้ผมจะพาทุกๆ ท่านมารู้จักกับสายนำสัญญาณ ซึ่งเรารู้จักกันในหลายๆ ชื่อ เช่น สาย Coaxial Cable, สาย RG6 , RG11 หรือสายอากาศ ตามแต่จะเรียกกันนะครับ ในฉบับนี้ผมจะตีวงให้แคบลง เผื่อว่าจะได้เอาใว้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง และเป็นแนวทางในการพิจารณาที่จะเลือกสายนำสัญญาณมาใช้ในงานติดตั้งครั้งต่อๆ ไปครับ

          คำว่า RG ย่อมาจาก Radio Guide ซึ่งก็คือสายนำสัญญาณวิทยุนั่นเองโดยสาย RG นี้ก็คือสาย Coaxial Cable แบบหนึ่งนั่นแหละครับ ซึ่งสายนำสัญญาณแบบ Coaxial Cable หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า "สายโคแอค" ในแปัจจุบันนิยมใช้ในงานระบบรักษาความปลอดภัย(SECURITY), ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV), ระบบเคเบิ้ลทีวี (CATV), ทีวีรวม(TV,MATV) รวมถึงระบบดาวเทียม(SATELLITE)

สายโคแอคมีหลายรุ่นแต่ละรุ่นแต่ละรุ่นจะมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน โดยจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆ 5 ส่วน คือ

1.ลวดตัวนำแกนกลาง (Center Conductor) ตัวนำสัญญาณภายในสุดส่วนมากจะเป็นแกนทองแดง แต่ไม่ใช่ทองแดง 100% เนื่องจากมีราคาสูง ส่วนใหญ่จะทำจากเหล็กชุบทองแดงที่เรียกว่า Copper Clad Steel หรือ C.C.S ทำหน้าที่นำสัญญาณจากอุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง หากเป็นเป็นสายนำสัญญาณคุณภาพต่ำ จะชุบทองแดงเพียงแค่ 14-17% ทำให้เกิดออกไซด์หรือสนิมได้ง่าย และนำสัญญาณได้ไม่ค่อยดี ส่วนสายนำสัญญาณคุณภาพสูง จะชุบทองแดงประมาณ 21%  ทำให้เกิดออกไซด์หรือสนิมได้ยาก และนำสัญญาณได้ดี แต่เนื่องจากปริมาณทองแดงที่มากขึ้น ทำให้สายนำสัญญาณประเภทนี้มีราคาค่อนข้างสูงตามไปด้วย

2.ฉนวน ( Dielectric หรือ Insulator ) คือ ฉนวนหุ้มตัวนำสัญญาณ มีส่วนช่วยในการลดทอนสัญญาณรบกวน ส่วนใหญ่จะทำจากโฟมหรือโพลิเอธิลีน (Polyethylene)  สายคุณภาพต่ำส่วนใหญ่จะผลิตมาจากโฟม ข้อเสียคือเมื่อนำไปใช้งานจริงแล้วตัวฉนวนจะรับน้ำหนักจากลวดตัวนำแล้วจะเกิดการผิดรูป ทำให้แกนลวดทองแดงไม่อยู่กึ่งกลางสาย ทำให้ค่าอิมพิแดนซ์ของสายนำสัญญาณ ( Impedance..... หรือค่า Z ในวิชาการเรียนทางสายอิเลคทรอนิกส์ ) หรือค่าความต้านทานของสายไม่ได้ค่า 75 โอมห์ ส่งผลให้เกิด Loss อีกทั้งเมื่อนำไปเข้ากับอุปกรณ์แล้ว อุปกรณ์ทองแดงจะหดตัวลงทำให้นำสัญญาณได้ไม่ค่อยดี ส่วนสายนำคุณภาพสูงฉนวนภายในทำจากโพลิเอธิลีน ซึ่งสามารถทนความร้อนและรับน้ำหนักได้ดีกว่าฉนวนที่ทำจากโฟมมาก ทำให้ได้ค่าอิมพิแดนซ์ 75 โอมห์ตลอดแนวสาย

3.อลูมิเนียมชีลด์ (Bonded Aluminum Foil Shield) ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน เพื่อทำให้ค่าอิมพิแดนซ์ (Impedance) สม่ำเสมอตลอดสาย สายคุณภาพต่ำส่วนใหญ่จะใช้อลูมิเนียมชีลด์ เพียงชั้นเดียวและไม่มีการติดกาวกับฉนวนหุ้มตัวนำสัญญาณ   ทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ไม่ดี รวมทั้งเกิดLossสูงเนื่องจากค่าอิมพิแดนซ์ไม่สม่ำเสมอตลอดสาย ส่วนในสายคุณภาพสูง จะให้อลูมิเนียมซีลด์สองชั้นและติดกาวยึดติดกับฉนวนหุ้มตัวนำสัญญาณ ทำให้สามารถนำสัญญาณรบกวนได้ดีและค่าอิมพิแดนซ์สม่ำเสมอตลอดแนวสาย

4.ชีลด์(Aluminum Braided Shield )ทำจากโลหะหรือทองแดงถักหุ้มตลอดทั้งเส้น ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน และป้องกันการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณออกมาภายนอก โดยปกติในสาย RG6จะใช้การถักอยู่ 2แบบคือแบบ64เส้นและ128เส้นเส้นลวดที่ใช้ถักชีลด์ส่วนใหญ่จะใช้ลวดขนาด 0.12mm และ 0.16mm เป็นส่วนใหญ่สายที่มีคุณภาพดีหรือในมารตฐานระดับโลกนั้นจะไม่บอกว่าใช่การถักแบบกี่เส้นแต่จะบอกเป้นเปอร์เซ็นชีลด์แทน
  ในส่วนของสายคุณภาพต่ำจะใช้ลวดขนาด 0.12mm ถักแบบ64เส้น คิดเป้นชีลด์เพียง40%เท่านั้น ในสายคุณภาพสูง จะใช้เส้นลวดขานด 0.16mm ถักเป็น64 เส้นเหมือนกัน แต่คิดเป็นด่าเฉลี่ยชีลด์ 60%

5.ฉนวนภายนอก (JACKET)
เป็นส่วยที่ห่อหุ้ม  สายเพื่อป้องกันการถูกแทง ฉีกขาดของสายภายใน ส่วนใหญ่จะผลิตจากPVCหรือโพลิเอธิลีน(Polyethylene)
  ในส่วนของสายคุณภาพต่ำ จะใช้ PVC เกรดต่ำซึ่งจะมีอายุการใช้งานของสายนำสัญญาณไม่นานเท่าที่ควร แต่สายนำสัญญาณคุณภาพดีนั้นจะใช้PVCที่มีคุณภาพดีทนทานความร้อนได้สูง ช่วยทำให้สายนำสัญญาณมีอายุการใช้งานได้นานวิธีตรวจเช็คง่ายๆ คือลองใช้เล็บแกะดูถ้าฉนวนมีลักษณะเลัและขาดง่าย แสดงว่าเป็นสายที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ

รูปตัวอย่างสายนำสัญญาณ COXACIAL

ในส่วนของมาตรฐานของการผลิตของสายนำสัญญาณหรือ Coaxial Cable จะมีด้วยกัน 2 มาตรฐานคือ

1. มาตรฐานอเมริกา คือมาตรฐานMIL-C17
ยกตัวอย่างเช่นสายนำสัญญาณรหัส RG-6 A/U RG ย่อมาจาก Radio Guide คือสายนำสัญญาณวิทยุ 6 คือ ตัวเลขแสดงเบอร์ของสาย RG Aคือตัวอักษรที่แสดงคุณลักษณะ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เอาไว้แสดงการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุ เช่น เปลือกหุ้ม จำนวนลวดตัวนำ อิมพิแดนซ์เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย การสูญเสียต่างกันเล็กน้อย/Uหมายถึง Utility หรือUniversal คือการใช้งานทั่วไป
2. มาตรฐานประญี่ปุ่น คือ มาตรฐาน JIS C 3501 เบอร์ของสายนำสัญญาณจะขึ้นต้นด้วยตัวเลข ยกตัวอย่างเช่น สายนำสัญญาณรหัส 3C-2V 5D-FB ตัวเลขตัวแรกคือขนากเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกโดยประมาณฉนวน (Dielectric) อักษรหลังตัวแรกคือ ค่าอิมพิแดนซ์ C=75 โอมห์ D=50โอมห์ อักษรหลังขีดแสดงวัสดุที่ใช้ทำไดอิเล็กทลิก F คือโฟม ถ้าเป็นเลข2คือ PEอักษรตัวสุดท้าย แสดงลักษณะของชิลด์และเปลือกหุ้มสาย
 
B = ชีลด์ทองแดง+ชีลด์ อลูมิเนียม+PVC
L = ชีลด์อลูมิเนียม+PVC
V = ชีลด์ทองแดง+PVC
E = ชีลดืทองแดง+PVC
N = ชีลด์ทองแดง+ไนล่อนถัก
W = ชีลด์ทองแดงถักสองชั้น+PVC

สายนำสัญญาณนั้นก็เปรียบเหมือนถนน ถนนดีถึงแม้รถเยอะก็ยังวิ่งได้คล่อง แต่ถ้าถนนไม่ดีถึงรถน้อยก้วิ่งไม่สดวก สายนำสัญญาณก็เช่นกัน มีหลายเกรด หลายยี่ห้อ หลายราคาให้เลือกใช้ ถ้าเป็นสายสัญญาณที่มีคุณภาพสัญญาณก็สามารถไปได้ไกลการสูญเสียของสัญาณน้อย ปัญหาเกิดจากการติดตั้งเป็นส่วนใหญ่นั้นมาจากสายสัญญาณ เพราะฉนั้นการเลือกใช้เราควรให้เหมาะสมกับงานหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับครอบครับ IPMของเราไม่มากก็น้อยนะครับ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ จะได้มีร่างกายแข็งแรงไว้ติดตั้งจานส้มให้กับลูกค้าที่น่ารัก พบกันใหม่ฉบับหน้า  ขอบคุณครับ 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เทคนิคดาวเทียม

การต่อรับชม 2 ดาวเทียม (มากกว่า5จุดและรายละเอียดการใช้ Multi switch
1.วิธีการต่อชม 5-16 จุดใช้ Multi switch1ตัว โดยปกติการต่อระบบใช้รับชมมากกว่า3จุด ด้วยหน้าจานเดียวนั้น การติดตั้งที่ดีที่สุดคือการใช้ Multi switch เพราะโดยส่วนใหญ่สินค้าในการตลาดจะมีหัวรับสัญญาณดาวเทียมแบบแยกหัวรับอิสระมักจะทำมามากที่สุด2หัว(ทั้งนี้หัว KU Band ของBSATทำไว้สูง4ขั้วอิสระ)จึงทำให้การต่อจุดมากๆจะต้องใช้ Multi switch การใช้ Multi switchสามรถสรุปเป็นสาระสำคัญๆได้คือ จะต้องใช้แยกขั้ว Vขั้ว H เท่านั้น เพราะช่องต่อของMulti switch ถูกออกแบบให้ทำงานเฉพราะย่านนั้นๆกล่าวคือ ขั้ว V ทำงานที่ 13 โวลต์ ขั้วHทำงานที่18โวลต์ จึงทำให้หากใช้2ขั้วอิสระ(Twin) จะส่งผลให้อุปกรณ์ทั้ง Multi switch และหัวรับสัญญาณ ชำรุดเร็วกว่าปกติเพราะแรงดันไฟที่ไม่ตรงกับอุปกรณ์

1.โดยปกติรหัสของ Multi switch จะมีตัวเลข 2หลัก เช่น4x4,5x8,9x12,9x16ซึ่งเลขตัวหน้าคือ จำนวนช่องต่อขาเข้าจากหัวรับสัญญาณดาวเทียม และตัวเลขหลังคือช่องต่อขาออก ซึ่งเป็นการบอกจำนวนเครื่องรับสามารถต่อได้

2.Multi switch จะมีช่องแบ่งกลุ่มดาวเทียมโดยใช้สัญลักษณ์ดาวเทียม 22kHz กับ 0kHz ในกลุ่มย่อย และ Burst A Burst B ในการแบ่งกลุ่มใหญ่และใช้คำว่า 13Vแทนย่านV,18Vแทนย่านH ดังตัวอย่างตารางต่อไปนี้

                              ช่องต่อขาเข้าแบบ 9x16
                    Burst A                                                                                 Burst B
22KHZ                           0KHZ                                  22KHZ                                          0KHZ
18V(Hor)  13V (Ver)      18V(Hor)  13V (Ver)             18V(Hor)  13V (Ver)           18V(Hor)  13V (Ver)
ย่าน V และ H ดวงที่1           ย่าน V และ H ดวงที่2                  ย่าน V และ H ดวงที่3               ย่าน V และ H ดวงที่4

 

( ตารางการตั้งค่าใช้ Multi switch )

3.Multi switch ทั่วไปแบ่งเป็น2ประเภท แบบมีไฟเลี้ยงและแบบไม่มีไฟเลี้ยงที่ตัว Multi switch ซึ้งสามรถใช้งานได้ดีเช่น การใช้งานของ Multi switch แบบมีไฟเลี้ยงในตัวสามรถตัวต่อได้อย่างสมบูรณ์ในกรณีไม่ว่าจะเป็นการใช้งานของเครื่องรับสัญญาณรุ่นเดียวกันทุกจุด หรือการใช้การร่วมกับเครื่องรับสัญญาณรุ่นอื่นๆยีงทำหน้าที่ตัดต่อได้มีประสิทธิภาพมากส่วน Multi switch แบบไม่มีไฟเลี้ยงในตัวก็สามารถใช้งานได้ดีกับการใช้เครื่องรับสัญญาณรุ่นเดียวกันทุกจุด เพราะการตัดต่อของMulti switch แบบไม่มีไฟเลี้ยงในตัวต้องใช้ไฟตัวเครื่องส่งไฟ 13/18 โวลต์ ขึ้นมาตัดต่อที่ Multi switchถ้าเป็นเครื่องรุ่นเดียวกันไฟ 13/18โวลต์ จะส่งไฟมาเท่ากันจึงทำหน้าที่ตัดต่อได้มีประสิทธิภาพ แต่ใช้งานร่วมกับเครื่องรับสัญญาณรุ่นอื่นๆ อาจเกิดปัญหาการตัดต่อไม่สมบูรณ์เนื่องจากไฟ 13/18 โวลต์ ในแต่ละเครื่องจ่ายไฟไม่เท่ากันในกรณีนี้ควรใช้Multi switch   แบบมีไฟเลี้ยงในตัวเฉพราะ Multi switchแบบไม่มีไฟเลี้ยงในตัวจะทำหน้าที่จ่ายไฟ13/18โวลต์ไปที่ LNBเองโดยกำหนดไฟเลี้ยง13/18โวลท์ในแต่ละเครื่องที่ส่งมาให้เท่ากันทำให้การตัดต่อสมบูรณ์สูงสุดสามารถเลือกใช้งาน Multi switchได้ตามความเหมาะสมของจุดรับชม

2.วิธีการตัดต่อรับชมหลายจุดมากกว่า Multi switch 1ตัว

โดยทั่วไป Multi switch ที่ขายตามท้องตลาดบ้านเราจะมีช่องต่อไปยังเครื่องรับสูงสุดประมาณ 16ช่องซึ่งหากผู้ใช้ต้องการช่องต่อมากกว่านั้นหรือหากเดิมบ้านผู้ใช้มี Multi switch เดิมอยู่แล้วและช่องต่อถูกต่อใช้จนเต็มก็สามารถเพิ่ม Multi switch โดยไม่ต้องเพิ่มจานหัวรับสัญาณต่อพ่วง Multi switchใหม่ด้วย 2 วิธีคือ
1. ใช้ Multi switch แบบ  Cascade ซึ่งเป็น Multi switch ที่ออกแบบมาให้มีช่องต่อในการต่อพ่วงไปยัง Multi switch ตัวต่อไปแต่ตลาดบ้านเราอาจหาสินค้าประเภทนี้ได้ยาก
2.ใช้ Splitter แยกสัญญาณก่อนเข้า Multi switch เพราะเนื่องสัญญาณที่มาจากหัวรับสัญญาณที่แยก V และ H มาอยุ่แล้วจึงสามารถแยกสัญญาณในย่านเดียวกันไปต่อหลาอยเครื่อง Multi switch ได้ดังตัวอย่างตามรูป

การต่อร่วมสัญาณดาวเทียม 2ดวงรับชมอิสระ 24 จุด
ทั้งนี้การใช้ Multi switch แทนที่ระบบ SMATV และMATV เพื่อให้ผู้พักอาศัยในอาคารสามารถรับชมรายการได้หลายดาวเทียมและหลายจุดรับชมโดยไม่มีปัญหาเรื่องการตัดต่อสัญญาณผิดพลาด จึงเป็นเทคนิคที่ช่างติดตั้งควรรู้เพื่อจะนำเสนอลูกค้าและติดตั้งได้อย่างถุกต้อง


-------------------------------------------------------------------------------------------

Multi switch 4X4 Active
หลังจากฉบับที่แล้วเราแนะนำชุดอุปกรณ์เสริม Thaicom ku ให้ได้รู้จักกันไปแล้ว  ฉบับนี้เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์เดิมมีความเก๋าไม่แพ้กัน เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่เราจะมาทำความรู้จักแบบเจาะลึกรายละเอียดกันครับ อุปกรณ์ที่เราจะมาแนะนำในวันนี้ก็คือ Multi switch 4X4 Active(BSAT BMM442)หรือที่หลายคนเรียกกันอย่างติดปากว่า Multi switch 4X4 BSAT นั้นเอง
   ตัว Multi switch นี้จะทำหน้าที่คล้ายกับอุปกรณ์รวมสัญญาณดาวเทียม(DiSEqC)และอุปกรณ์แยกสัญญาณดาวเทียม(Splitter) รวมกันนั้นคือทำหน้าที่ทั้งในการรวมสัญญาณของดาวเทียม 2ดวง(หรือมากกว่า)เข้าด้วยกันเหมือนกับอุปกรณ์สัญญาณดาวเทียม (DiSEqC) และยังทำหน้าที่แยกสัญญาณดาวเทียม 2 ดวงที่รัได้ เพื่อปล่อยสู่เครื่องรับReceiver ได้ถึง 4เครื่องเหมือนกับอุปกรณ์แยกสัญญาณดาวเทียม (Splitter) และสิ่งที่ดีกว่าอุปกรณ์แยกสัญญาณดาวเทียม (Splitter) คือเรื่องรับ Receiver ทุกเครื่องสามารถรับสัญญาณดาวเทียมทั้งV-Hได้อย่างอิสระ เหมือนรับสัญญาณดาวเทียมโดยตรงจากหน้าจานอีกด้วย เห็นไหมครับว่างานนี้ซื้อหนึ่งได้ถึงสองเลยทีเดียว


วิธีการต่อใช้งาน/การตั้งค่า
Thaicom C Band = 13V/22kHz ON  13/22kHz ON
                          = 13V/22kHz OFF  18/22kHz OFF
NSS-6 ku Band   =  13V/22kHz ON  13/22kHz ON
                          =  13V/22kHz OFF  18/22kHz OFF

รายละเอียด ของตัวอุปกรณ์ และรายละเอียดการใช้งาน  Multi switch 4X4 Active    มีดังนี้ครับ
-Input Frequency              950-2150MHz
-Insertion Loss                  9 dB
-Swtiching Isolation           30dB
-Input lsolation                  35dB
-Return Loss                      8dB
-DC Current                       60mA
-Max Current                     500mA
-Input/ Output Connector  75 Ohms F-Type


Specification
-ใช้สำหรับความต้องการแยกจุดรับชมแบบอิสระ4จุด
-ใช้กับจานดาวยเทียม2-4จานหรือ2-4ดาวเทียม(ขึ้นอยู่กับหน้างานและความต้องการของลูกค้า)
-ใช้งานที่ความถี่ 950-2150MHz
-มีช่องต่อแหล่งจ่ายไฟเพิ่มระยะกรณีต่อสาย RG-6ยาวมากๆใช้ไฟ24VDC
-สามารถทำงานร่วมอุปกรณ์ร่วมสัญญาณดาวเทียม(DiSEqC)ได้ในกรณีที่ต้องการรับสัญญาณดาวเทียมมากกว่า4ดวงขึ้นไป

  สำหรับข้อควรระวังอย่างเดียวที่อยากฝากถึงช่างติดตั้งทุกท่านสำหรับการใช้ Multi switch คือขอให้ใช้หัวLNBที่เป็นแบบแยกV-Hเพื่อที่ตัวMulti switch จะได้ไม่ต้องทำงานหนักมากจนเกินไปและเป็นการยืดอายุการใช้งานของตัว Multi switch รวมถึงการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในส่วนของการติดตั้งไปในคราวเดียวกันด้วยครับมาถึงตรงนี้เราก็ทราบถึงลักษณะการทำงาน รวมถึงรายละเอียดต่างๆของตัว Multi switch 4X4 Active กันแล้วนะครับหวังว่าการติดตั้งครั้งต่อไปขอให้ Multi switch 4X4 Active เป้นทางเลือกหนึ่งในงานติดตั้งของทุกๆท่านครับ  ขอบคุณครับ........

 



ผู้ตั้งกระทู้ copa tabata :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-15 06:13:26


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.