ReadyPlanet.com


การจัดระเบียบเคเบิ้ลทีวี- ทีวีดาวเทียม ปราบโฆษณาผิดกฏหมาย ทีวี100ช่อง


การจัดระเบียบเคเบิ้ลทีวี- ทีวีดาวเทียม ปราบโฆษณาผิดกฏหมาย ทีวี100ช่อง


ผู้ตั้งกระทู้ copa tabata :: วันที่ลงประกาศ 2010-07-11 06:30:54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3195892)
นับแต่ พ.ร.บ การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ 2551 ประกาศใช้เกิดความคึกคักขึ้นในวงการเคเบิ้ลทีวี ตามด้วยการผุดช่องรายการผ่านดาวเทียมจำนวนมาก เพราะะกฏหมายอนุญาติให้มีโฆณาได้ไม่เกิน 6นาทีต่อชั่วโมง เท่ากับการเป็นขุมทรัพย์แหล่งใหม่ของการโฆษณา ทีประเมิณกันว่าปีนี้จะมีเม็ดเงินใน อุตสาหกรรมนี้ไม่ต่ำกว่า2,500.-ล้านบาท
ทั้งนี้สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม ประเมินว่าปีนี้จะมีช่องรายการโทรทัศน์รวมกันมากกว่า100ช่อง ซึ่งในจำนวนนี้จะมีช่องที่เปิดขึ้นมาเพื่อเป็นธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะประมาณ10ช่องดดยการโฆษณาผ่านช่องทางทีวีดาวเทียม ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีอัตราค่าโฆษณาที่ถูกกว่าฟรีทีวี ที่คิดนาทีละ 3-4แสนบาทเป็น100เท่า ขณะที่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันประมาณ5-6ล้านครัวเรือน หรือ ประมาณ20ล้านคน
แต่ปรากฏว่าสินค้าที่โฆษณาทางทีวีดาวเทียมส่วนใหญ่จะเป็นยาอาหารเสริม บริการคำพยากรณ์ อิทธิฤทธิ์เหนือความจริง สินค้าบริการเกี่ยวกับทางเทศทำให้การโฆษณาผ่านทีวีดาวเทียมนั้น ถูกตั้งคำถามจากผู้บริโภคว่า การโฆษษณาดังกล่าวถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่และผิดจริยธรรมหรือไม่ รวมทั้งรายการบางช่องนั้นอาจเข้าข่ายหลอกล่วงผู้บริโภค และมาประทุเป็นข่าวดังกรณีทีวีช่อง ซุปเปอร์เช็ง
ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับทีวีดาวเทียมนั้นคือ การไม่มีกติกาในการกำกับกิจการโทรทัศน์มา10ปี ทำให้ธุรกิจโฆษณาในประเภทแอบแฝงเข้ามาเติบโตในสื่อใหม่เหล่านี้จนเกิดคำถามจากผู้บริโภคว่า รัฐจะไม่ทำอะไรเลยหรือนี่คือเหตุผลที่หน่วยงานของรัฐดดยเฉพาะ ( สคบ )ต้องเข้ามาดูแล
สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( สคบ ) ในฐานะ หน่วยงานของรัฐที่ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ในการคุ้มครองผู้บริโภคจึงต้องลุกขึ้นมาเพื่อที่จะหาแนวทางในการกำกับดูแล เพื่อให้การโฆษณา ในทีวีดาวเทียมเกิดความยุติธรรมต่อผู้บริโภค ในระหว่างนี้จะมีองค์กร อิสระ กสทช  ที่มีหน้าที่ดูแลโดยตรงยังไม่ถูกจัดตั้งขึ้น และการทำงานของ สคบ จะเน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันผู้บริโภค เพราะลำพังเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่เพียงพอที่จะดูแลให้ทั่วถึงได้
สำหรับผู้ประกอบการและผู้โฆษณานั้น ภาครัฐต้องการชี้แจงให้ทราบว่า ปัจจุบันนี้มีกฏหมายที่สามารถเอาผิดในเรื่องการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคได้ ดดยเฉพาะเรื่องการโฆษณา เรื่องสินค้าและการบริการ ซึ่งมีทั้ง พ.ร.บ อาหารและยาและพ.ร.บ คุ้มครองผู้บริโภค ที่กำหนดกติกาเกี่ยวกับการโฆษณาเอาไว้แล้ว ส่วนทีวีดาวเทียมซึ่งยังไม่มีกฏหมาย กำกับดูแลโดยเฉพาะได้มอบให้ สคบ. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างเกณฑ์ กติกาในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็ฯมาตรฐาน ร่วมทั้งจะสร้างจิตใต้สำนึกให้ผู้ประกอบการณ์ ดดยการจัดสัมนาการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังกับสมาคมผู้ประกอบการ และผู้บริโภคทั่วประเทศเพื่อช่วยกันตรวจสอบ
ทั้งนี้ปัญหาคือการบังคับใช้กฏหมายจะทำได้มากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญนั้นคือตัวกฏหมายยังขาดความชัดเจนและมีช่องโหวอีกมาก เช่น รายการแนะนำสินค้านั้นถือเป็นการโฆษณาหรือไม่ เพราะถ้าเป็นการโฆณาถือว่าเกินเวลาที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ รวมถึงการใช้ผู้มีประสบการณ์ประสิธิภาพของสินค้า และบริการถือว่าทำได้หรือไม่หลักเกณฑ์เหล่านี้ สคบ. จะระดมความคิดเห็น จะส่งเรื่องให้อนุกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ของ กทช. นำไปออกหลักเกณฑ์ ต่อไป
นิพนธ์ นาคสมพภ นายกสมาคมโทรทัศน์ ดาวเทียมกล่าวว่า คำถามสำคัญคือใครจะมากำหนดระยะเวลา โฆษณาและเวลาที่เหมาะสม ควรเป็ฯอย่างไร อย่างไรก็ตามสมาคมมีแนวความคิดที่จะกำกับดูแลกันเองอยู่แล้ว ในจำนวน40ช่อง รายการโทรทัศน์ดาวเทียม  โดยจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา2ชุด ตรวจสอบมาตรการล้อมคอก ทั้งหลายคงก้าวไม่ทันสื่อนิวมีเดียที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและหลากหลาย ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาไปขณะที่กาารกำกับดูแลยังต้องทำไป อีกด้านหนึ่งการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ถ้าทำได้จะเกิดผลดีระยะยาวให้พร้อมเผชิญยุคโลกไร้พรมแดน
ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-07-11 06:34:03



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.