ReadyPlanet.com


เกร็ดความรู้ต่างเกี่ยวกับจานดาวเทียม


ฟีดฮอร์น  (FEED  HORN) ฟีดฮอร์นนับว่าเป็นหัวใจหลักในการรับสัญญาณดาวเทียม เช่นกัน เพราะเป็นตัวอุปกรณ์ที่จะนำคลื่นไมโครเวฟเดินทางเข้าสู่วงจรขยายสัญญาณที่มีอัตราการรบกวนต่ำ  โดยระบบเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมประจำบ้านส่วนใหญ่  นอกจากจานรับสัญญาณยังต้องใช้ฟีดฮอร์นแบบวงกลมที่มีประสิทธิภาพดี  และจะมี  Scalar Ring  ซึ่งเป็นส่วนรประกอบอยู่ที่ปากกระบอกมีลักษณะเป็นวงแหวนซ้อนกันอยู่อยู่หลายรอบเพื่อป้องกันการรบกวนจากสัญญาณจากขอบภายนอกจุดโฟกัส สะท้อนลงไปยังพื้นผิวของจานต่อไป   สัญญาณดาวเทียมทั้งหมดจะถูกขยายให้แรงขึ้นโดยการสะท้อนให้อัตราประมาณ 70 % ของผิวจานทั้งหมด   พุ่งไปรวมกันที่ฟีดฮอร์นโดยสเกล่าร์ฟีดฮอร์นจะถูกออกแบบให้สามารถมองลงมายังพื้นผิวของจานสายอากาศให้มากที่สุดในขณะที่สัญญาณจะลูกลดทอนลงที่บริเวณพื้นผิวที่อยู่ใกล้ขอบจานประมาณ 10 - 15 dB.
             ปกติแล้วอณูของพื้นผิวโลกจะสร้างสัญญาณรบกวนอยู่หลายแบบเข้ามาในย่านความถี่ 4 GHz เป็นจำนวนมาก   และมีความแรงที่มากกว่าสัญญาณที่ส่งลงมาจากดาวเทียมหลายเท่าซึ่งการลดทอนที่เกิดขึ้นบริเวณผิวขอบนอกของจานนี้    มีผลทำให้สามารถไปลดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากพื้นผิวโลกซึ่งไปรวมกันอยู่บริเวณพื้นผิวที่อยู่ใกล้ขอบของจาน    ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 30% ของพื้นผิวจานทั้งหมด  พื้นผิวของจานทั้งหมด พื้นผิวของที่อยู่บริเวณดังกล่าว    จึงทำหน้าที่เสมือนกับชีลด์เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนที่จะเข้าไปยังฟีดฮอร์นไปในตัว
              สำหรับวิธีการพิจารณาเลือกใช้งานให้ถูกต้องและได้ผลดีนั้น   ในทางปฏิบัติคือ ตัวฟีดจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของจานที่เราเลือกใช้   สำหรับจานรับสัญญาณที่มีท้องจานตื้น   สามารถใช้งานได้ดีที่สุดกับฟีดมาตรฐานใดก็ได้  ขณะที่แบบที่มีท้องจานลึกอาจจะต้องใช้ฟีดแบบพิเศษ  หรือ อาจต้องมี  อะแดบเตอร์ริง  ซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนเข้ามาช่วย   จะมีผลทำให้บริเวณช่องของฟีดยาวขึ้นอีกเล็กน้อย    ทำให้ความยาวที่แท้จริงของฟีดนั้นสัมพันกับอัตราส่วน f/D ของสายอากาศ หรือ ของจานรับสัญญาณได้ถูกต้องยิ่งขึ้น  และอีกประการหนึ่ง  ฟีดที่จะนำมาใช้งานให้ได้ผลดีขึ้น  ควรที่จะสามารถปรับปรุงตำแหน่งของ Scalar plate ได้ เพื่อให้สามารถปรับแต่งผลของการรับสัญญาณให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด
                ภาพในฟีดฮอร์นจะมีโพรบซึ่งเป็นเหมือนสายอากาศขนาดเล็กๆ   ต้นหนึ่งที่อยู่ในฟีดฮอร์นโดยตรง   โดยให้แนวของช่องสี่เหลี่ยมที่โพรบติดตั้งอยู่   เอียงให้สอดคล้องกับขั้วคลื่นของสัญญาณที่ส่งลงมาจากดาวเทียม

เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ท่านได้ทำการติดตั้งจานดาวเทียม อย่างมองข้ามอุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่มากับชุดจานดาวเทียมด้วยนะครับ


ผู้ตั้งกระทู้ copa tabata :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-14 06:57:46


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3191022)

เวลาดูช่องรายการทีวีที่เป็นหนังต่างประเทศเช่น ( หนังจีน , หนังฝรั่ง , หนังญีปุ่น , หนังเกาหลี )จากดาวเทียมแล้วเสียงออกมาเป็น2ภาษา เช่นลำโพงข้างซ้ายเป็นภาษาไทย และลำโพงข้างขวาเป็นภาษาต่างประเทศ เราสามารถเลือกให้เสียงออกมาเพียงภาษาเดียวได้ โดยการกดปุ่ม AUDIO ให้เครื่องรีซีฟเวอร์ มีสัญญาณเสียงออกเป็น LL หรือ RR ก็ได้ครับ แล้วเสียงจะออกมาเพียงภาษาเดียว

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-06-18 02:54:14


ความคิดเห็นที่ 2 (3191027)

ความถี่ของดาวเทียม หรือ ทรานสปอนด์เดอร์ของของเทียม
บางครั้งจะมี่การเปลี่ยนแปลงบ้าง หรืออาจมีความถี่ช่องใหม่ๆเพิ่มเข้ามาตลอดอยู่บ่อยๆ ฉะนั้น ท่านลูกค้าที่ติดตั้งจานดาวเทียม ชนิดต่างๆ ควรศึกษาวิธีการจูนความถี่ให้เข้าใจ เพราะเวลามีปัญหาต่างๆก็จะสามารถแก้ปัญหาด้วยตัวท่านเองได้ง่าย........

วิธีที่ดีในการแก้ไขความถี่กรณีที่ค่าความถี่เปลี่ยนไปคือ ใช้คำสั่ง EDIT TRANSPONDER หรือ เปลี่ยนค่าความถี่ เพราะช่องจะอยู่ที่ลำดับเดิมในเครื่องรีซีฟเวอร์

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-06-18 03:33:35


ความคิดเห็นที่ 3 (3191030)

สำหรับท่านลูกค้าที่ติดตั้งจานดาวเทียมแล้วเลือกใช้เครื่องรีซีฟเวอร์ที่มี Function OTA หรือสามรถอัฟเดทช่องรายการอัตโนมัต ผ่านดาวเทียม ได้นั้น ทุกๆครั้งที่เครื่องทำการ OTA อยู่นั้น ท่านลูกค้าควรรอให้เครื่องรีซีฟเวอร์ ทำการ OTA ทุกขั้นตอนให้เสร็จเสียก่อนจึงค่อย กดปุ่มรีโมท เพื่อใช้งาน......
ช่วงเวลาที่เครื่องทำการ OTA อยู่นั้นถ้า ปลั๊กไฟ 220VAC หลุดนั้น เครื่องอาจ HANG ได้ง่าย หรือ เครื่องอาจใช้งานไม่ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-06-18 03:44:10


ความคิดเห็นที่ 4 (3191031)

ปัจจุบันท่านลูกค้าที่ต้องการติดตั้งจานดาวเทียมเพื่อต้องการรับชมช่องรายการทีวีไทยทั่วไปมักจะนิยมติดตั้งจานดาวเทียมประเภท C-BAND หรือจานดำมากที่สุดเพราะ จานดาวเทียม C-BAND นั้นมีข้อได้เปรี่ยบหลายประการ เช่นฝนตกหนักมากหนักน้อย ช่องรายการดาวเทียมก็ยังสามารถรับได้อยู่ ช่องก็มีให้ชมมาก และจะมีช่องรายการใหม่ๆเพิ่มมาตลอด และทุกช่องรายการที่อยู่จานดำจะเป็นช่องฟรีทีวี

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-06-18 03:51:34


ความคิดเห็นที่ 5 (3191035)

การจูนทรานสปอนด์ของดาวเทียม จะมีค่าพารามิเตอร์หลักๆ อยู่3ค่าคือ

1. ค่า Frequency
( สำหรับความถี่ C-BAND จะมีตัวเลขแค่4หลักเท่านั้น แต่ถ้าเป็นความถี่ KU-BAND จะเป็นตัวเลข 5หลักเท่านั้น ) 
2. ค่า Polarity ( แนวในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมที่ใช้ในประเทศไทย จะมีแค่2แนวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นความถี่ C-BAND หรือ KU-BAND คือ ( แนวตั้ง = VERTICAL=VER ) กับ (  แนวนอน = Horizental = HOR )
3.ค่า Symbolrate ( ค่าซิมโบเรท อาจเป็นตัวเลข 4หลักก็ได้ หรือ ตัวเลข 5หลัก ก็ได้ )



1ทรานสปอนด์เดอร์ของดาวเทียม อาจจะมีช่องรายการทีวี 1ช่อง หรือมากกว่า 1ช่องก็ได้ แต่ยิ่งมีช่องเยอะเท่าไรความคมชัดของภาพก็ยิ่งน้อยลงตามลำดับ เพราะจะมีการบีบอัดข้อมูลมากกว่า ภาพก็ยิ่งไม่ชัดตามไปด้วย


ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-06-18 04:36:46


ความคิดเห็นที่ 6 (3191036)

รีซีฟเวอร์สำหรับเคเบิ้ลทีวีของประเทศต่างที่มีการ์ดแบบ ฝังอยู่ในตัวเครื่องรีซีฟเวอร์และที่มีสัญญาณขาออกเป็น HDMI นั้น โดยส่วนมาก จะไม่สามารถจูนช่องรายการใดๆเพิ่มเข้ามาได้อีก

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-06-18 04:59:13


ความคิดเห็นที่ 7 (3193572)

ชุดจานดาวเทียม มีภาพออกมาเป็นเส้น เรื่อๆ คล้ายๆกับทีวีจะเสียนั้น เกิดจากสายสัญญาณ AV มีปัญหา อาจมีจุดช๊อด บางจุดภายในสายAVเอง วิธีแก้ปัญหาคือ การเปลี่ยนสาย AV ใหม่ ( ควรเลือกสายAV ที่มีคุณภาพสูงไว้จะดีกว่า )

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-06-28 07:41:54


ความคิดเห็นที่ 8 (3194655)

จานดาวเทียมไม่ว่าจะเป็นจานดาวเทียมระบบ KU-BAND หรือ C-BAND ถ้าเลือกให้ใหญ่กว่าอีกนิดสัญญาณที่ได้ก็จะแรงกว่า โอกาศที่ภาพจะกระตุกนั้นก็มีน้อยกว่า ดูแล้วHAPPY กว่าครับ

ตัวอย่างการเลือกจานดาวเทียมให้มีขนาดใหญ่กว่าอีกนิดหนึ่ง

1.เช่นถ้าเราคิดจะติดตั้งจานดาวเทียมซีแบนด์ หรือจานดำ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5ฟุต เราอาจจะตัดสินใจใหม่ว่า น่าจะเลือกติดตั้งจานดาวเทียมขนาด 5.5ฟุตน่าจะดีกว่า เพราะการติดตั้งจานดาวเทียมนั้นเราต้องใช้ไปอีกนาน แพงอีกนิดเดียวแต่สัญญาณแรงกว่าเยอะ ดูแล้ว HAPPY กว่า

2. เช่นถ้าเราคิดจะติดตั้งจานดาวเทียมเคยูแบนด์ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60cm เราอาจจะตัดสินใจใหม่ว่า น่าจะเลือกติดตั้งจานดาวเทียมขนาด 75cm น่าจะดีกว่า เพราะการติดตั้งจานดาวเทียมนั้นเราต้องใช้ไปอีกนาน แพงอีกนิดเดียวแต่สัญญาณแรงกว่าเยอะ ฝนตกพอประมาณภาพก็ยังดูได้อยู่ ดูแล้ว HAPPY กว่า


ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-07-04 06:56:15


ความคิดเห็นที่ 9 (3200327)

ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)


ลักษณะและการใช้งาน
ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 5 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง โดย 2 ใน 4 ดวงเป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์ และปลดระวางไปแล้ว 1 ดวง

ไทยคม 1
ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)

เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"
ตำแหน่ง:
0°0′N 120°0′E

ไทยคม 2
ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)

ตำแหน่ง:
0°0′N 78°5′E

ไทยคม 3
ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ  
ตำแหน่ง:   0°0′N 78°5′E

ไทยคม 4
ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1] 
ตำแหน่ง:
0°0′N 120°0′E

ไทยคม 5
ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3  ตำแหน่ง:  0°0′N 78°5′E


ข้อถกเถียงการถือกรรมสิทธิ์ดาวเทียมและวงโคจร
กิจการดาวเทียมเป็นกิจการสัมปทานที่ได้รับการอนุญาตโดยการทำสัญญาจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้มีสิทธิให้อนุญาตและเพิกถอนสัญญาเรียกคืนสัมปทาน แต่เช่นเดียวกับการถือสัมปทานอื่น ผู้ให้สัมปทาน (หน่วยงานของรัฐ) ไม่สามารถบริหารดาวเทียม คงจะเป็นผู้กำกับและเป็นเจ้าของทรัพย์สินและคลื่นความถี่เท่านั้น แต่เป็นบริษัทผู้ได้รับสัมปทาน ที่บริหารนโยบายการใช้งานดาวเทียมได้เอง หากไม่ขัดกับเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน

เดิมทีบริหารนโยบายการใช้งานดาวเทียม แม้ว่าไม่ใช่โดยหน่วยงานของรัฐ แต่ก็ยังถือว่าโดยบริษัทของชาวไทย (มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) แต่เมื่อ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขายหุ้นครั้งใหญ่ สายการบริหารจึงดำเนินการโดยบริษัทของชาวสิงคโปร์ (ชาวสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่)

อย่างไรก็ตาม มีกระแสความเห็นว่า ยังไม่ใช่การครอบครองโดยเบ็ดเสร็จ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังเป็นผู้พิจารณาให้สัมปทาน จึงอาจกล่าวโดยมุมมองที่ต่างกันไปว่า เจ้าของที่แท้จริงยังเป็นคนไทย เพียงแต่ให้ชาวต่างชาติเช่าเพื่อดูแลและใช้งานในธุรกิจ อีกทั้งยังอาจมีวิธียึดคืนสัมปทานได้ ถ้าค้นคว้าได้ว่าผิดสัญญา [2]

ทั้งนี้ ข้อกฎหมายตั้งเงื่อนไข ห้ามมิให้บริษัทที่ชาวต่างชาติถือหุ้นรายใหญ่ในสัมปทาน เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจคนต่างด้าว และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม แต่ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซึ่งเป็นผู้ถือรายหุ้นใหญ่ใน บริษัท ไทยคม จำกัด) ได้ขายหุ้นให้ บริษัท ซีดาร์ โฮลดิงส์ จำกัด ซึ่งบริษัทนี้ แม้จดทะเบียนในประเทศไทย แต่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิงส์ จำกัด [3] (สรุปให้ง่ายว่า ขณะนี้ บริษัทไทยคม เป็นบริษัทลูกของ บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทซีดาร์โฮลดิงส์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทเทมาเส็กโฮลดิงส์)

ดังนั้นถ้าพิจารณาโดยเบื้องต้น จึงไม่ขัดกับข้อกฎหมาย เพราะ บริษัทชินคอร์ปอเรชั่นไม่ใช่บริษัทต่างชาติโดยตรง ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (เป็นบริษัทลูกอีกชั้นหนึ่ง) ทั้งนี้ถือเป็นการเลี่ยงโดยอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมาย ซึ่งถ้าพิจารณาตามสายการบริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากบริษัทเทมาเส็กโฮลดิงส์ สามารถล็อบบี้และควบคุมการบริหารและดำเนินนโยบายใน กิจการดาวเทียมไทยคม โดยลำดับเป็นทอดๆ [4]

ปัญหาเรื่องการจัดสร้างดาวเทียมทดแทน
ในช่วงปี พ.ศ.2551 ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ.2553 จะเป็นช่วงหมดอายุการใช้งานของดาวเทียมไทยคม 2 ดวง ได้แก่ ดาวเที่ยมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ซึ่งในสัญญาสัมปทานระบุให้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานจากภาครัฐ ต้องทำการจัดสร้างดาวเทียมและส่งขึ้นสู่อวกาศเพื่อให้บริการทดแทนตลอดอายุสัมปทาน แต่บริษัทผู้รับสัมปทานได้ขอระงับการจัดสร้างดาวเทียมใหม่ทดแทน โดยเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงไอซีที) เป็นการเช่าดาวเทียมของประเทศอื่นแทนการสร้างใหม่ โดยอ้างเรื่องการลงทุนที่สูง [5] แม้กระทรวงไอซีทีไม่เห็นด้วยในตอนแรก แต่เมื่อดาวเทียมใกล้หมดอายุใช้งานจึงจำเป็นต้องอนุญาตเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้ดาวเทียม [6] โดยให้เป็นการเช่าชั่วคราวและยืนยันให้ผู้รับสัมปทานยังต้องทำแผนจัดสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม 6 ตามสัญญาสัมปทาน

ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-08-03 09:04:38


ความคิดเห็นที่ 10 (3203269)

 ในปัจจุบันผู้ให้บริการจะต้องแข่งขันกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ  เพื่อนำเสนอช่องทางเพิ่มรายได้ สร้างจุดขายที่แตกต่างให้แก่ลูกค้า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจึงได้พัฒนาการให้บริการที่เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses - OpEx ) และค่าใช้จ่ายในการลงทุน (Capital Expenditures - CapEx)  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไร  และในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง  ทุกฝ่ายล้วนมีความเห็นตรงกันว่า  ไอพี (IP) จะเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับเครือข่ายในอนาคต  และจะเข้ามาทดแทนระบบโครงข่ายแบบ  TDM (PSTN,PLMN) เดิมในที่สุด  โดยทั่วไปในวงการอุตสาหกรรมจะเรียกโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตนี้ว่า  เครือข่ายแห่งอนาคต
  (next - generation network - NGN) เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่างๆในปัจจุบันสามารถรองรับบริการโทรคมนาคมทุกประเภทโดยการรวมทุกโครงข่ายทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่  บริการอินเตอร์เน็ต รวมถึงบริการสื่อสารทุกประเภททั้งเสียง (Voice) และข้อมูล (Data) เข้าด้วยกันภายใต้โครงข่าย IP ที่มีการรับส่งข้อมูลแบบ Packet

    หาก 3G เป็นโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคใหม่  ที่รองรับการสื่อสารด้านบรอดแบนด์สำหรับการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วโครงข่ายสื่อสารที่เรียกว่า NGN ก็ถือเป็นโครงข่ายใหม่ที่รองรับการสื่อสารบรอดแบนด์ภายใต้โทรศัพท์พื้นฐาน  และปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ใหม่ให้แก่ธุรกิจสื่อสารข้อมูลเพื่อทดแทนรายได้เดิมที่เกิดจากการสื่อสารทางเสียงที่มีแนวโน้มลดลง  NGN จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถจัดการเครือข่าย  รวมไปถึงการสร้างรูปแบบในการให้บริการต่างๆ  ได้ด้วยตัวเองซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการให้บริการเครือข่ายของผู้ประกอบการ  โดยโครงสร้างแบบ IP จะช่วยสร้างบริการได้อย่างหลากหลายทั้งด้านเสียง ข้อมูล และวีดีโอ ผ่านตัวกลางเพียงตัวเดียว  โดยมีตังอย่างแอพพลิเคชั่นที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จในวงกว้าง ประกอบด้วย Instant  Messaging  ซึ่งจะมีข้อมูลนำเสนออย่างหลากหลาย  และสามารถรองรับการสื่อสารแบบอัตโนมัติ, Online Gaming  ที่มีความเร็วที่สูงมากขึ้น  ,  IP Centrex  ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสารให้กับธุรกิจขนาดเล็กโดยการใช้บริการผ่านตู้ชุมสายย่อยของผู้ให้บริการแทนที่การลงทุนในการติดตั้งระบบตู้สาขาอัตโนมัติ (PABX) เองรวมไปถึงบริการ Online - Streaming  ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถกำหนดเวลาการรับชมภาพยนตร์ได้ด้วยตัวเอง
 
    สำหรับเครือข่าย IP NGN  ประกอบด้วยการผนวกรวม (Convergence)  พื้นฐานใน 3 ส่วนสำหรับผู้ให้บริการในปัจจุบัน 
 1. การผนวกรวมแอพพลิเคชั่น - การผนวกรวมบริการใหม่ๆ ทางด้านข้อมูล เสียง  และวีดีโอ  บนโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์เดีวกัน
 2. การผนวกรวมบริการ - ผู้ให้บริการกำลังพัฒนาไปสู่การนำเสนอ "Triple Play ทุกที่ทุกเวลา" ซึ่งผนวกรวมบริการด้านเสียง วิดีโอ ข้อมูล  และบริการเข้าด้วยกัน  การผนวกรวมบริการดังกล่าว  จะคลอบคลุมการเข้าถึง  และควบคุมเครือข่ายที่สามารถรองรับเทคโนโลยีที่หลากหลายและทำงานร่วมกับเครือข่ายใดๆได้อย่างกลมกลืนไม่ว่าจะเป็นโมบายล์, ไวร์เลส, เคเบิล, DSL หรืออีเธอร์เน็ต
 3. การผนวกรวมเครือข่าย - ผู้ให้บริการกำลังพัฒนาจากแนวทางการติดตั้ง จัดการ และดูแลรักษาหลายๆ เครือข่ายที่รองรับแต่ละบริการ ไปสู่แนวทางการนำเสนอบริการทั้งหมดบนเครือข่ายเดียวกัน  ซึ่งโดยมากเป็นเครือข่ายบนมาตรฐาน IP Multiprotocol Label Switching (IP MPLS)


       โครงข่ายโทรคมนาคมในอนาคตจะไม่แยกเป็นโครงข่ายเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง  แต่อาจจะเรียกได้ว่ารวมเป็นหนึ่งโครงข่ายเท่านั้น  โดยข้อมูลที่ใช้สำหรับการสื่อสารทุกชนิดในโลก  ทั้งการสนทนาเสียง ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนใหว  ข้อมูลเป็นต้น   โดยข้อมูลจะถูกแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลในรูปชุดข้อมูล  แพ็กเก็ต (packet - based Network ) แบบ Internet Protocol (IP)  หรือเป็นลักษณะการใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเป็น IP เมื่อข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตแล้ว  คนส่งกับคนรับรู้ก็จะทำการแปลงข้อมูลให้เข้าใจตรงกัน  ไม่ว่าข้อมูลจะส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์บ้าน  โทรศัพท์มือถือ  ดาวเทียมใยแก้วนำแสง  หรือวิทยุ  ฆรือโทรทัศน์ก็ตามตลอดจนการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นในบ้านจะสามารถสื่อสารเข้าใจข้อมูลร่วมกันได้และเป็นการหลอมรวมทางเทคโนโลยีต่อไป (Convergence of Technology) ในอนาคต

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-08-17 04:39:39


ความคิดเห็นที่ 11 (3203270)

L- Band  มาทำความรู้จักกับระบบ L-Band กันเถอะครับ  L- Band  คือ  ย่านความถี่ช่วงหนึ่งถ้าทำการค้นหาว่าย่านความถี่นี้อยู่ในช่วงใหน  โดยใช้เว็ปกูเกิ้ลในการหาข้อมูลก็จะเจอข้อมูลเกี่ยวกับ L-BANDเยอะแยะมากมาย  ซึ่งก็ไม่ผิดกันทั้งนั้นละครับแล้วแต่ว่าใครจะกำหนดใช้ช่วงใหน  แต่ถ้าเป็นงานสำหรับระบบดาวเทียมแล้ว ความถี่ ย่าน L-Band  ที่ใช่ก็คือ 950MHz - 2150  MHz  ทำไมผมจึงเขียนเช่นนี้  ก็เพราะเราสังเกต ระบบ DVB-S Input  ของ  Receiver  ก็จะตรงกับย่านความถี่ที่ผมกล่าวมาพอดี  และถ้าดู Spec ของ LNB  ก็เช่นกันจะอยู่ในช่วงของย่านความถี่ดังกล่าว  เพราะฉะนั้นผมจึงขอเรียกย่านความถี่ระหว่าง 950 MHz - 2150  MHz นี้ว่า L-Band ซึ่งระบบดาวเทียมเองก็แบ่งออกเป็น 2 ชนิดนี้ คือ C-band และ KU-band ทั้ง 2 ชนิดนี้ถึงแม้ว่าจะมีความถี่ Up link และ Down link  ไม่เท่ากัน แต่ความถี่กลางที่รับลงมา ผ่าน LNB ก็อยู่ในช่วงของ L- Band ทั้งคู่

แล้วทำไมต้องเป็น L- Band เนื่องจากการทำระบบ S-band แบบเก่าๆ ต้องใช้ Modulator ตามจำนวนช่องที่ส่งออกไป  และการส่งส่งสัญญาณนั้นก็เป็นการส่งสัญญาณแบบ Analog ไปยัง TV เพราะฉะนั้นท่านก็จะพบกับปัญหา ต่างๆ  มากมายเช่น ทั้งการควบคุมความแรงสัญญาณโดยต้องใช้ Amplify ชนิด Slope AMP แต่สัญญาณที่ได้นั้นภาพก็ไม่คมชัดอีกซะด้วย    และถ้าเปลี่ยนไปใช่ Up & Down converter ละ สามรถใช้ได้แต่ก็ติดเรื่องข้อจำกัดของความถี่ที่จะไม่ได้ครบทุก Transponder เนื่องจากรายการต่างๆในดาวเทียมมีมากมายเหลือเกิน  อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็สูง  เพราะฉะนั้น ระบบ L-band  จึงตอบโจทย์  โดยการแก้ไขข้อด้อยของ ทั้งระบบ S-band และ Up & Down converter  ได้เป็นอย่างดีเลยนะครับ 


L-band  ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ก่อนอื่นก็ต้องขอบอกล่วงหน้าใว้ก่อนเลยว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ L-band นั้นต้องสามารถรองรับการใช้งาน ความถี่ช่วง 950 MHz - 2,150 MHz ได้ อย่างที่ได้เคยกล่าวไปในฉบับที่แล้ว ซึ่งทางลีโอเทคฯ มีสินค้าที่รองรับ ระบบ L-band แทบจะทุก Item เริ่มอยากรู้แล้วสินะว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ L-band มีตัวอะไรบ้าง ผมก็จะขอเขียนรายชื่ออุปกรณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ชุดจานดาวเทืยม
2.Amplifier ที่รองรับความถี่ย่าน  950 MHz - 2150
3.Spitter ที่รองรับความถี่ย่าน  950 MHz - 2150
4.สายนำสัญญาณที่สามารถใช้งานในความถี่  950 MHz - 2150
5.เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมในย่านความถี่   950 MHz - 2150

    อุปกรณ์หลักที่ใช้ในระบบ L-band ก็มีตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งทางเรา  มีสินค้าดังกล่าวทั้งหมดให้บริการอยู่แล้วอีกทั้งมีทีมงานให้คำปรึกษาการออกแบบระบบ และแก้ไขปัญหาระบบ L-band โดยช่างผู้ชำนาญและเชี่ยวชาญระบบ L-band โดยเฉพาะ และแล้วพื้นที่ก็ไม่เพียงพอ ฉบับหน้าฉันจะนำ Diagram  การออกมาแบบมาอธิบายให้ผู้ติดตามได้รับทราบวิธีการออกแบบระบบ L-band ในแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นตึกเก่าหรือใหม่ ฉบับนี้ขอตัวก่อนละคร๊าบบ๊ะบาย

 


 

ผู้แสดงความคิดเห็น copa tabata วันที่ตอบ 2010-08-17 04:53:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.